“ทรามาดอล” ยาเสพติดสายพันธุ์ใหม่ (ตอนที่ 2)

กลุ่มเภสัชกร โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต แจ้งว่า การที่ยาใดๆ ก็ตามที่สามารถจับ Mu-opiate receptor ได้ นอกจากหวังผลออกฤทธิ์ระงับปวดแล้ว ยังมีผลทางด้านเภสัชวิทยาอื่นๆ ได้แก่ ฤทธิ์สงบประสาท กดการหายใจ ทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุขและก่อให้เกิดการเสพติดทางกาย ทำให้ยาในกลุ่ม Opioid agonist ถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษที่ต้องมีการควบคุมการจำหน่าย ยาทรามาดอลอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงดังต่อไปนี้ได้

  • เวียนศีรษะ (Dizziness)
  • อ่อนเพลีย
  • ง่วงนอน
  • ปวดหัว
  • อาการทางประสาท (Nervousness)
  • หงุดหงิด กระสับกระส่าย (Agitation)
  • อาการสั่นตามร่างกายโดยควบคุมไม่ได้
  • กล้ามเนื้อยึด
  • อารมณ์แปรปรวน
  • เซื่องซึม (Drowsiness)
  • กรดไหลย้อน (Heartburn) หรืออาหารไม่ย่อย
  • คลื่นไส้ (Nausea)
  • อาเจียน (Vomiting)
  • ท้องเสีย (Diarrhea)
  • ท้องผูก
  • คัน
  • เหงื่อไหล
  • หนาวสั่น (Chills)
  • ปากแห้ง

สำหรับผลข้างเคียงที่ร้ายแรงที่ต้องรีบไปพบแพทย์ก็คือ

  • อาการชัก (Seizures)
  • ปวดในปาก จมูก ตา หรือคอ
  • อาการคล้ายหวัด
  • ไข้สูง
  • มีผื่น
  • กลืนหรือหายใจลำบาก
  • มีอาการบวมที่หน้า คอ ลิ้น ริมฝีปาก ตา มือ เท้า เข้า หรือขาส่วนล่าง
  • เสียงแหบแห้ง (Hoarseness)
  • ประสาทหลอน (Hallucinations)

นอกจากนี้หากใช้ยาเป็นเวลานาน ห้ามหยุดยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะแพทย์อาจให้ค่อยๆ ลดยาทีละน้อย เนื่องจากการหยุดทันทีทันใดอาจทำให้เกิดอาการทางประสาท (Nervousness) ตื่นตระหนก (Panic) เหงื่อไหล (Sweating) มีอาการง่วง มีน้ำมูก (Runny nose) จามหรือไอ ชา ปวด ปวดแสบปวดร้อน (Burning) หรือเป็นเหน็บ (Tingling) ที่มือหรือเท้า หนาวสั่น มีอาการสั่นตามร่างกาย ท้องเสีย หรือบางทีอาจเกิดอาการหลอน (Hallucinations)

แหล่งข้อมูล:

  1. ยา “Tramadol” ระบาดกลุ่มโจ๋ภูเก็ต ฮิตกินผสมน้ำอัดลม - http://www.thairath.co.th/content/region/340755 [2013, May 4].
  2. Tramadol. - http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a695011.html [2013, May 4].