ถุงน้ำดีอักเสบ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ถุงน้ำดีอักเสบ-3

      

      ส่วนการลดความเสี่ยงของถุงน้ำดีอักเสบก็คือ การป้องกันถุงน้ำดีด้วยการ

      1. ลดน้ำหนักอย่างช้าๆ – เพราะการลดน้ำหนักที่รวดเร็วจะเพิ่มความเสี่ยงที่ถุงน้ำดี (ควรตั้งเป้าลดน้ำหนักให้ได้เพียงสัปดาห์ละ 0.5-1 กิโลกรัม)

      2. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม – ด้วยการลดแคลอรี่และเพิ่มการออกกำลังกาย เพราะการมีน้ำหนักมากจะมีความเสี่ยงของถุงน้ำดีมาก

      3. เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ – เพราะการกินอาหารที่มีไขมันสูงและไฟเบอร์ต่ำจอะเพิ่มความเสี่ยงต่อท่อน้ำดี ให้กินผลไม้ ผักและธัญพืช

      สำหรับการวินิจฉัยโรคทำได้ด้วยการ

• การตรวจร่างกาย ซึ่งจะพบว่ามีอาการ

      o เป็นไข้ ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Tachycardia) และกดแล้วเจ็บที่บริเวณช่องท้องขวาด้านบน (RUQ) หรือบริเวณยอดอก (Epigastric region)

      o คลำพบถุงน้ำดี (Palpable gallbladder) ที่ช่องท้องขวาด้านบน ซึ่งพบประมาณร้อยละ 30-40 ของผู้ป่วย

      o อาการดีซ่าน (Jaundice) ซึ่งพบประมาณร้อยละ 15 ของผู้ป่วย

• ตรวจเลือด

• ตรวจช่องท้องด้วยอัลตราซาวด์หรือซีทีสแกน

• การตรวจสแกนตับและทางเดินน้ำดี (Hepatobiliary iminodiacetic acid = HIDA)

• การส่องกล้องตรวจท่อน้ำดีและตับอ่อน (Endoscopic retrograde cholangiopancreatography = ERCP)

      สำหรับการรักษานั้นมักจะรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพื่อควบคุมอาการอักเสบในถุงน้ำดี หรือบางครั้งอาจจำเป็นต้องผ่าตัด โดยการรักษาที่โรงพยาบาลอาจประกอบด้วย

• การอดอาหาร (Fasting)

• การให้สารน้ำทางหลอดเลือดเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ (Dehydration)

• การให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ

• การให้ยาแก้ปวด

• การผ่าตัดด้วยวิธีต่างๆ เช่น

      o Laparoscopic cholecystectomy

      o Percutaneous drainage

      o ERCP

      o Endoscopic ultrasound-guided transmural cholecystostomy

      o Endoscopic gallbladder drainage

แหล่งข้อมูล:

  1. Cholecystitis. https://emedicine.medscape.com/article/171886-overview [2018, April 19].
  2. Cholecystitis.https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cholecystitis/symptoms-causes/syc-20364867 [2018, April 19].