ถึงเวลากระดูกทำลายตัวเอง (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ถึงเวลากระดูกทำลายตัวเอง-3

      

      บริเวณที่ใบหน้า (Maxillofacial bones)

  • ปวดกราม
  • ฟันหลุด
  • ใบหน้าหักและผิดรูป

      สำหรับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค GSD ต้องอาศัยการสอบประวัติสุขภาพอย่างละเอียดรวมถึงการทดสอบหลายอย่าง เช่น

  • การทำเอ็มอาร์ไอ (Magnetic resonance imaging = MRI)
  • การทำซีทีสแกน (CT scan)
  • การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ (Biopsy)

      ส่วนการรักษาขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น บริเวณที่เป็น ระดับความรุนแรง และอาการแทรกซ้อน โดยประกอบด้วย

      1. การให้ยาต้านการเติบโตของหลอดเลือด (Anti-vascular) และ ยากดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressant medications) เช่น

  • ยา Sirolimus: เป็นยากินที่ใช้กดภูมิคุ้มกันและหยุดการสร้างตัวของท่อน้ำเหลือง เพื่อชะลอภาวะที่กระดูกทำลายตัวเองและลดอาการแทรกซ้อน
  • ยา Interferon alfa-2b: เป็นยาที่ใช้หยุดการสร้างตัวของท่อน้ำเหลืองและช่วยให้อาการดีขึ้น.
  • Bisphosphonates: เป็นยาที่ใช้ในภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) เพื่อชะลอภาวะการสูญเสียกระดูกของโรค GSD

      นอกจากนี้อาจมีการให้วิตามินดี แมกนีเซียม ฟลูออไรด์ แคลเซียม ยา Cisplatin ยา Bleomycin ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนแคลซิโทนิน (Calcitonin)

      2. การผ่าตัด ซึ่งอาจรวมถึง

  • การจัดกระดูกสันหลังใหม่ (Spinal reconstruction) หรือ การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (Spinal fusion surgery)
  • การปลูกถ่ายกระดูก (Bone graft surgery) เพื่อสร้างกระดูกใหม่
  • การผ่าตัดเพื่อเอากระดูกที่มีปัญหาออกและอาจแทนที่ด้วยกระดูกเทียม (Prosthetic) หรือ กระดูกที่ปลูกถ่ายใหม่

      3. รังสีบำบัด (Radiation therapy) เพื่อรักษาอาการเจ็บปวด อาการแทรกซ้อนของโรค เช่น การคั่งของน้ำเหลืองในช่องปอด (Chylothorax) แต่เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีนี้อาจมีผลข้างเคียงตามมา จึงไม่แนะนำให้ใช้เป็นทางเลือกแรกในการรักษา (First-line therapy)

แหล่งข้อมูล:

  1. Gorham Stout Disease | Symptoms & Causes. http://www.childrenshospital.org/conditions-and-treatments/conditions/g/gorham-stout-disease/symptoms-and-causes [2018, December 10].
  2. Gorham-Stout Disease. https://rarediseases.org/rare-diseases/gorham-stout-disease/ [2018, December 10].