“ต้อหิน” ตรวจก่อน เจอก่อน ตาไม่บอด (ตอนที่ 9 และตอนจบ)

สิ่งที่ควรคำนึงถึง ก็คือ อาจเกิดต้อกระจกขึ้นได้อีกภายหลังการผ่าตัดต้อหิน นี่คือเหตุผลว่าทำไมจึงไม่นิยมใช้การผ่าตัดก่อนในการรักษาต้อหินมุมเปิด และต้อกระจกอาจเกิดในผู้ที่เป็นต้อหินด้วย และมักเกิดในผู้สูงอายุ การผ่าตัดเพื่อเอาต้อกระจกออกอาจทำพร้อมกับการผ่าตัดต้อหิน ซึ่งการผ่าพร้อมกันนี้อาจทำให้สังเกตถึงการมองเห็นที่ดีขึ้นได้อย่างชัดเจน

การตัดสินใจว่าจะทำการผ่าตัดต้อหินหรือไม่ อาจทำได้ยากกว่าเพราะ :

  • ในหลายกรณีที่คนเป็นต้อหินไม่รู้สึกปวดและมักสังเกตไม่ออกว่ามีการสูญเสียการมองเห็น
  • การผ่าตัดมักทำให้ความสามารถในการมองเห็นแย่ลงภายหลังการผ่าตัด ซึ่งอาจใช้เวลาเป็นสัปดห์หรือเป็นเดือนหลังการผ่าตัด บางคนอาจมีความสามารถในการมองเห็นไม่ดีเท่าตอนก่อนผ่าตัด การผ่าตัดไม่ใช่การรักษาต้อหินที่สมบูรณ์ แต่การผ่าตัดสามารถลดโอกาสในการสูญเสียการมองเห็นที่มากขึ้น
  • ไม่ใช่ทุกคนที่ผ่าตัดด้วยเลเซอร์แล้วจะมีความดันลูกตาที่ลดลงหลังการผ่าตัด บางคนความดันลูกตาอาจลดลงแค่ 1 - 2 ปี ในขณะที่บางคนอาจมีความดันลูกตาที่เพิ่มขึ้น มีต้อหินมุมเปิดบางชนิดเท่านั้นที่ได้ผลดีกับการผ่าตัดด้วยเลเซอร์มากกว่าการใช้วิธีอื่น
  • ผลของการรักษาด้วยเลเซอร์อาจจะอยู่ไม่นาน อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยเลเซอร์ การใช้ยา หรือการผ่าตัดอื่นซ้ำอีก
  • ควรปรึกษาแพทย์ถึงความเสี่ยงและประโยชน์ของการผ่าตัด ปัจจัยหนึ่งก็คือ การพิจารณาว่าควรผ่าตาข้างไหนก่อน
  • กระบวนการที่จะทำลายโครงสร้างในตาที่สร้างของเหลวที่เรียกว่า Cyclodestructive procedures จะใช้เมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่นรวมถึงการผ่าตัดนั้นไม่ได้ผล การรักษาหลายๆ ครั้งสามารถทำลาย Ciliary body ได้เป็นจำนวนมากซึ่งเป็นเหตุให้มีของเหลวผลิตได้น้อยเหลือเกิน ซึ่งสามารถทำให้ลูกตาอ่อนตัวและนำไปสู่อาการตามัวหรือที่เรียกว่า ต้อกระจก

เนื่องจากการเป็นต้อหินอาจต้องใช้ยาหยอดตามากกว่า 1 ชนิด และแต่ละวันอาจต้องหยอด 2 - 3 ครั้งหรือมากกว่า ยาหยอดตาเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยป้องกันและรักษาสายตา ดังนั้นควรหยอดตาให้ถูกวิธี มิฉะนั้นอาจทำให้สูญเสียสายตาได้อย่างถาวร ต่อไปนี้เป็นเทคนิคในการหยอดตาที่ควรทราบ :

  • ล้างมือให้สะอาดก่อนทำการหยอดตาเพื่อลดการติดเชื้อ
  • อาจแช่ยาหยอดตาในตู้เย็น เพื่อให้รู้สึกเย็นขณะตัวยาซึมผ่านลูกตา
  • หากแต่ละครั้ง ต้องหยอดยามากกว่า 1 ชนิด อาจทิ้งช่วงเวลา 3 - 5 นาที ก่อนหยอดยาชนิดถัดไป ทั้งนี้เพื่อให้ยาซึมเข้าตาก่อน
  • เริ่มต้นด้วยการหงายศีรษะไปด้านหลัง ใช้นิ้วชี้ของมือด้านหนึ่งดึงเปลือกตาด้านล่างลงให้เกิดช่องว่าง แล้วหยอดยาด้วยมืออีกข้างโดยวางมือเบาๆ บนมือข้างที่ดึงเปลือกตาด้านล่างลง พยายามอย่าให้ส่วนปลายสุดของขวดยาสัมผัสกับมือหรือตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ แล้วบีบขวดเพื่อให้ยาหยดลงในตาด้านล่าง แล้วค่อยๆ ปล่อยเปลือกตาด้านล่างออก
  • หลังจากนั้น หลับตาพักสัก 2 - 3 นาที (การกระพริบตาหรือรีดเปลือกตาอาจทำให้ยาไม่สามารถเข้าไปในตาได้ ซึ่งจะทำให้การรักษาไม่ได้ผล)
  • ทำตามคำสั่งแพทย์อย่างใกล้ชิด

แหล่งข้อมูล

  1. Glaucoma – Surgery. http://www.webmd.com/eye-health/tc/glaucoma-surgery [2013, February 11].
  2. Tips on Instilling Your Eyedrops Properly. http://www.webmd.com/eye-health/how-to-instill-your-eyedrops-treatment [2013, February 11].