ดูแลใกล้ชิด พิษหมอกควันเหนือ (ตอนที่ 2 และตอนสุดท้าย)

นายแพทย์ พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาหมอกควันไฟป่าในพื้นที่ภาคเหนือว่า หมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่ยังถือว่าอยู่ในสภาวะค่อนข้างรุนแรง เพราะมีปริมาณสูงกว่าค่ามาตรฐานปกติมาประมาณ 2 เดือนแล้ว โดยเฉพาะที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

สาเหตุสืบเนื่องมาจากการเผาป่าและพื้นที่เกษตรในพื้นที่ และเกิดไฟป่าที่มีความรุนแรงมากกว่าปกติ การแก้ไชปัญหาดังกล่าวนั้น จะต้องขอให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่หยุดการเผาโดยเด็ดขาดในช่วงนี้ แม้จะเข้าใจดีว่าการเผาเป็นวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ ที่ประกอบเป็นอาชีพ แต่จะต้องหารือกันเพื่อจัดระเบียบการเผาในพื้นที่ใหม่

สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยในหลายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น อาทิ ที่จังหวัดพะเยา พบว่า มีสถิติผู้ป่วยโรคตาแดงเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า ผู้ป่วยโรคถุงลมโป่งพองในพื้นที่จังหวัดพะเยา ลำปาง และ ลำพูน เพิ่มขึ้น 5 – 6 เท่า ส่วนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด ในภาพรวมของพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10 – 20%

โรคถุงลมโป่งพอง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) เป็นการเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกของโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (Chronic bronchitis) และภาวะมีอากาศคั่งในเนื้อเยื่อปอด (Emphysema) โรคทั้งคู่เกิดขึ้นร่วมกันในปอด เมื่อท่อทางเดินหายใจ (Airways) เริ่มตีบตัน อันนำไปสู่ข้อจำกัดของการไหลของอากาศไปยังปอด แล้วย้อนกลับ ทำให้เกิดอาการหายใจติดขัด (Dyspnea)

ในทางปฏิบัติของการแพทย์ โรคถุงลมโป่งพอง ได้รับการนิยามให้มีลักษณะการไหลของอากาศที่ต่ำ ในการทดสอบหน้าที่การทำงานของปอด (Lung function test) เมื่อเปรียบเทียบกับโรคหืด (Asthma) ข้อจำกัดนี้สามารถแก้ไขได้ แต่ไม่ได้รับการนำไปใช้ ภาวะดังกล่าวจึงมักจะเลวร้ายลงเมื่อเวลาผ่านพ้นไป มีการประมาณการกันว่า ประชากร 842,100 คนใน 50 ล้านคน ในประเทศอังกฤษ ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็น โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพอง มีสาเหตุจากอนุภาคหรือก๊าซที่เป็นอันตราย ซึ่งส่วนมากมาจากการสูบบุหรี่ [และหมอกควันที่ภาคเหนือในขณะนี้] แล้วก่อให้เกิดการอาการบวมที่ผิดปรกติในปอด การแก้ปัญหานี้อยู่ที่การหยุดสูบบุหรี่ [และการระงับหมอกควันดังกล่าวทันทีโดยเด็ดขาด] การฉีดวัคซีนป้องกันโรคที่ก่อการติดเชื้อซ้ำซ้อนของปอด การอาศัยเวชศาสตร์ฟื้นฟู และการบำบัดด้วยยา ซึ่งมักใช้วิธีสูดเข้าร่างกาย (Inhale) ผู้ป่วยบางคนต้องได้ออกซิเจนในการบำบัดระยะยาว หรือผ่าตัดเปลี่ยนปอด (Llung transplantation)

โรคถุงลมโป่งพองอยู่ในอันดับที่ 6 ของสาเหตุการตายทั่วโลกในปี พ.ศ. 2533 แต่มีการพยากรณ์ 40 ปีว่า จะร่นขึ้นมาเป็นอันดับ 4 ของสาเหตุการตายทั่วโลกในปี พ.ศ. 2573 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของอัตราผู้สูบบุหรี่ [และภาวะมลพิษในสิ่งแวดล้อม] ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างประชากรในหลายๆ ประเทศ

ในสหรัฐอเมริกาเอง โรคถุงลมโป่งพองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 3 และเป็นภาระทางเศรษฐกิจของประเทศ ในปี พ.ศ. 2550 คิดเป็นเงิน 42.6 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 1.278 ล้านล้านบาท) ที่อยู่ในต้นทุนของการดูแลสุขภาพ และการสูญเสีย “ผลิตผล” (Productivity) ทั่วประเทศ

แหล่งข้อมูล:

  1. อธิบดีกรมควบคุมโรควอนคนเหนือหยุดเผา-แนะระยะยาวจัดโซนเวียนเผา http://manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9550000029753 [2012, March 8].
  2. Chronic obstructive pulmonary disease. http://en.wikipedia.org/wiki/Chronic_obstructive_pulmonary_disease [2012, March 8].