ดื่มการแฟมากเกินไป เสี่ยงตายเพิ่มขึ้น (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

ปริมาณ 250-300 มิลลิกรัมต่อวัน ของคาเฟอีน (Caffeine) ซึ่งประมาณได้ว่าเป็นกาแฟ 3 ถ้วย (8 ออนส์/ถ้วย) เรียกว่าปริมาณปานกลาง แต่ถ้ามากกว่า 750-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ถือว่าอันตราย แม้ว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟมากๆ ทุกวัน [บางราย]สามารถดื่มได้มากกว่านี้ โดยไม่เจ็บป่วย

คาเฟอีนมีอยู่ในเครื่องดื่มและอาหารมากมายหลายชนิด โดยมีปริมาณ ดังนี้

  • กาแฟต้ม 40-220 มิลลิกรัม ใน 1 ถ้วย
  • กาแฟชง 30-120 มิลลิกรัม ใน 1 ถ้วย
  • กาแฟซึ่งสกัดคาเฟอีนออกไป (Decaffeinated coffee) 3 - 5 มิลลิกรัม ใน 1 ถ้วย
  • น้ำชา 20-110 มิลลิกรัมใน 1 ถ้วย
  • โซดาต้มกับคาเฟอีน 36 - 90 มิลลิกรัมใน 1 ออนซ์ บางคนคิดว่าเครื่องดื่มซึ่งมีสีอ่อนจะไม่มีคาเฟอีน ซึ่งไม่จริงเสมอไป
  • ช็อกโกแล็ค นม 3 - 6 ใน 1 ออนซ์
  • ช็อกโกแล็ค หวานขม 25 ใน 1 ออนซ์

1 ออนซ์ = 30 มิลลิลิตร ส่วน 1 ถ้วย = 8 ออนซ์ (240 มิลลิลิตร)

การสกัด (Extraction) คาเฟอีนจากกาแฟ เป็นกรรมวิธีทางอุตสาหกรรมที่สำคัญและสามารถใช้จำนวนตัวทำละลายที่แตกต่างกันเช่น เบนซีน (Benzene), คลอโรฟอร์ม (Chloroform), ไตรคลอโรเอธิลีน (Trichloroethylene) และ ไดคลอโรมีเทน (Dichloromethane ) ด้วยหลายๆ เหตุผล ในด้านความปลอดภัย ผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม ต้นทุน และความพึงพอใจ

การสกัดด้วยน้ำ (Water extraction) เริ่มต้นด้วยการนำเมล็ดกาแฟไปแช่ในน้ำ ซึ่งประกอบด้วยสารประกอบอื่นๆ มากมาย เพื่อผลต่อกลิ่นของกาแฟ แล้วก็ไหลผ่านถ่าน (Activated charcoal) ซึ่งสกัดคาเฟอีน จากนั้นก็ใส่น้ำกลับไปที่เมล็ดกาแฟ และระเหยให้แห้ง ก็จะเหลือกาแฟ ดีคาเฟอีน ซึ่งมีกลิ่นดั้งเดิมอยู่

การสกัดโดยใช้คาร์บอนไดออกไซด์ที่ในสถานะวิกฤยิ่งยวดติ (Supercritical carbon dioxide extraction) กล่าวคือสถานะที่อยู่ระหว่างของเหลวและก๊าซ เป็นตัวทำละลายที่ปลอดภัยกว่าตัวทำละลายอินทรีย์อื่นๆ คาเฟอีนจะถูกแยกโดยการดูดซับ (Absorption) ด้วยผงถ่าน หรือโดยการกลั่น(distillation) ให้ตกผลึกอีกครั้ง (Re-crystallization) หรือ การกรองโดยใช้เยื่อกรองพิเศษทำจากใยสังเคราะห์เซลลูโลส ด้วยวิธีการดูดซึมกลับ (Reverse osmosis)

นอกจากนี้ยังมีการสกัดโดยตัวทำละลายอินทรีย์ (Extraction by organic solvents) ตัวทำละลายอินทรีย์อย่างเช่น เอธิว อะเซเทต (Ethyl-acetate) มีผลต่อสุขภาพและอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าสารพวกที่ผสมคลอรีน (Chlorinated) และสารตัวทำละลายที่มีกลุ่มเบ็นซิน (Aromatic) ที่เคยมีการใช้ประจำอยู่มาก วิธีอื่นคือการใช้น้ำมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride oil) ที่ได้รับจากการบดกาแฟจนหมด จริงๆ แล้ว Decaffeine\ated coffee ยังมีคาเฟอีนอยู่ แม้ว่าจะมีปริมาณ 10 มิลลิกรัมใน 1 ถ้วยเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับ 85 มิลลิกรัมใน 1 ถ้วยของกาแฟปกติ

แหล่งข้อมูล:

  1. ดื่มกาแฟมากเกินไป เสี่ยงตายเพิ่มขึ้น - http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377048223&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, September 11].
  2. Caffeine - http://simple.wikipedia.org/wiki/Caffeine [2013, September 11].
  3. Caffeine - http://en.wikipedia.org/wiki/Caffeine [2013, September 11].