ดีดีที ตัวก่ออัลไซเมอร์ (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

National Toxicology Program (NTP) ของสหรัฐอเมริกาได้จัดให้ดีดีทีเป็นสารพิษระดับกลาง (Moderately toxic) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization = WHO) ได้จัดให้ดีดีทีเป็นวัตถุอันตรายระดับกลาง (Moderately hazardous) อย่างไรก็ดี ดีดีทีอาจใช้รักษาพิษจากบาร์บิทุเรต (Barbiturate) ซึ่งเป็นยากดประสาทชนิดหนึ่ง แต่ก็มีน้อยรายที่ทำเช่นนั้น

ดีดีทีและดีดีอีมีความเชื่อมโยงกับการเป็นเบาหวาน โดยงานวิจัยเป็นจำนวนมากของสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสวีเดน พบว่า ความชุกของโรคจะพบมากในคนที่มีระดับดีดีทีหรือดีดีอีในซีรัม (Serum) สูง

ดีดีทีและดีดีอี มีลักษณะเหมือนสารพิษกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorines) อื่นๆ โดยสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency = EPA) ของสหรัฐอเมริกาได้แจ้งว่า ดีดีทีมีผลทำลายระบบการสืบพันธุ์ และทำให้ภาวะเจริญพันธุ์แย่ลง

มีงานวิจัยหลายตัวที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างดีดีทีหรือดีดีอีกับมดลูก และการเป็นพิษต่อระบบประสาท (Neurotoxicity) ในคน เช่น ในปี พ.ศ. 2549 งานวิจัยของ University of California, Berkeley ได้ระบุว่า เด็กที่ได้รับสารนี้ระหว่างที่อยู่ในมดลูก จะมีโอกาสสูงต่อการเกิดปัญหาด้านพัฒนาการ

และมีอีกหลายงานวิจัยที่พบว่า แม้จะพบระดับของดีดีทีหรือดีดีอีที่ต่ำ แต่ก็ยังมีผลต่อสายสะดือ (Umbilical cord) ของทารก กล่าวคือ ทำให้เด็กมีสมาธิน้อยลง และระดับการรับรู้ของเด็กที่อายุ 4 ปี ก็น้อยลงด้วย

นอกจากนี้งานวิจัยบางฉบับยังพบว่า ระดับดีดีทีหรือดีดีอีที่พบในเลือด อาจทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง และมีผลกระทบต่อฮอร์โมธัยรอยด์ ทำให้เป็นโรคครีตินิสต์ (Cretinism) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนไทรอกซินในวัยเด็ก มีผลทำให้ร่างกายและสติปัญญาเจริญช้ากว่าเด็กปกติ เช่น มีรูปร่างเตี้ยแคระและถ้าเป็นมากจะทำให้ปัญญาอ่อนได้ด้วย

The International Agency for Research on Cancer ของสหรัฐอเมริกา ได้แจ้งว่า ดีดีทีหรือดีดีอีอาจทำให้เกิดสารก่อมะเร็ง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งที่ตับ (Liver) ตับอ่อน (Pancreas) เต้านม และยังมีหลักฐานว่ามีการเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งเม็ดเลือด (Leukemia) มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) และ มะเร็งอัณฑะ (Testicular cancer)

ในขณะที่งานวิจัยอื่นได้กล่าวว่า ดีดีทีหรือดีดีอีไม่ได้เป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัลติเพิล มัยอีโลมา (Multiple myeloma) หรือมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate) มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Endometrium) มะเร็งลำไส้(Rectum) มะเร็งปอด (Lung) มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ (Bladder) ซึ่งเราก็ต้องรอดูผลการวิจัยกันต่อไป

แม้ว่าเราจะไม่ได้สัมผัสกับการใช้ดีดีทีโดยตรง แต่เราก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับพิษของดีดีทีได้จากแหล่งดังต่อไปนี้

  • การกินปลาหรือหอย (Shellfish) ที่มีสารปนเปื้อน
  • การที่ทารกได้รับสารผ่านการกินนมแม่
  • การกินอาหารที่ใช้ดีดีที
  • การกินพืชผลที่ปลูกในดินที่มีการปนเปื้อน

แหล่งข้อมูล:

  1. DDT. http://en.wikipedia.org/wiki/DDT [2014, February 23].
  2. DDT. http://www.epa.gov/pbt/pubs/ddt.htm [2014, February 24].