ช็อกเฉียบพลัน (ตอนที่ 2)

ช็อกเฉียบพลัน

TSS เกิดจากการที่แบคทีเรียเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและปล่อยความเป็นพิษออกมา โดยพิษจะซึมเข้าสู่กระแสเลือด

อาการที่เกิดขึ้น ได้แก่

  • มีไข้สูง
  • ความดันโลหิตต่ำ (Hypotension)
  • อาเจียนหรือท้องเสีย
  • มีผื่นขึ้นเหมือนถูกแดดเผา (Sunburn) โดยเฉพาะบริเวณฝ่ามือและเท้า
  • สับสน (Confusion)
  • ปวดกล้ามเนื้อ
  • ตา ปาก และคอแดง
  • ชัก (Seizure)
  • ปวดศีรษะ

TSS สามารถเกิดได้กับทุกคน แต่ประมาณร้อยละ 50 เกิดในผู้หญิงที่มีประจำเดือน ส่วนที่เหลือเกิดในผู้หญิงสูงวัย ผู้ชาย และเด็ก โดยมีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

  • ผิวหนังมีแผลหรือไหม้
  • เพิ่งคลอดบุตรได้ไม่นาน
  • เพิ่งผ่านการผ่าตัดไปไม่นาน
  • อยู่ระหว่างมีประจำเดือน
  • ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด
  • มีการติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัด หรือ อีสุกอีใส (Chickenpox)

TSS สามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน ดังนี้

  • ภาวะช็อคหมดสติ (Shock)
  • ภาวะไตวาย (Renal failure) ตับวาย หัวใจวาย
  • เสียชีวิต

ทั้งนี้ ยังไม่มีวิธีการทดสอบว่าเป็น TSS ได้ด้วยวิธีใดวิธีเดียว แต่อาศัยการนำตัวอย่างจากเลือด ปัสสาวะ ช่องคลอด (Vagina) ปากมดลูก (Cervix) และคอ ไปทดสอบในห้องแล็ปว่าติดเชื้อหรือไม่ และเนื่องจาก TSS สามารถกระทบต่ออวัยวะหลายส่วน แพทย์จึงอาจสั่งให้ทำซีทีสแกน CT scan เจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar puncture) หรือเอ็กซเรย์หน้าอก (Chest X-ray) เพื่อประเมินอาการด้วย

แหล่งข้อมูล

  1. Toxic shock syndrome. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/toxic-shock-syndrome/basics/definition/con-20021326 [2014, December 21].
  2. Toxic shock syndrome. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/toxic-shock-syndrome/basics/definition/con-20021326 [2014, December 21].
  3. Understanding Toxic Shock Syndrome. http://www.webmd.com/women/understanding-toxic-shock-syndrome-basics [2014, December 21].