ชุดปฐมพยาบาลเบื่องต้น (ตอนที่ 3)

มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา ได้มีการสำรวจการใช้และการเก็บรักษายาในห้องพยาบาลของโรงเรียน พร้อมจัดอบรมเชิงปฏิบัติแก่ครูและนักเรียนโดยมีเจ้าหน้าที่จากมูลนิธิฯ และนักศึกษาอาสาสมัคร จากคณะเภสัชศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้องของมหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ ร่วมเป็นอาสาสมัคร

ผลจาการสำรวจ ได้นำมาจัดทำหนังสือ “คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย” โดยมุ่งหวังว่าจะเป็นผู้ช่วยยามจำเป็นประจำห้องพยาบาล เพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการดูแลรักษาการเจ็บป่วยเบื้องต้นของโรคที่พบได้บ่อยในโรงเรียน คู่มือดังกล่าวเป็นชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First aid kit) ในโรงเรียน

ในสมัยก่อน ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ส่วนใหญ่เป็นชุดงูกัด (Snake-bite kit) ซึ่งประกอบด้วย ชุดผ่าตัดแผลขนาดเล็กๆ (Incision) และเครื่องดูด (Suction) พิษงูพร้อมด้วยยาฆ่าเชื้อโรคที่ทำจากสารปรอท (Mercurochrome antiseptic) หรือยาแดง ต่อมาความเสี่ยงด้านสาธารณสุข อาทิ งูกัด ได้เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขไป

หลังจากความเข้าใจในวิธีการปฐมพยาบาล พร้อมมาตรการช่วยชีวิตได้เจริญก้าวหน้าขึ้น สิ่งที่บรรจุในชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก็ได้เปลี่ยนตาม อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration : FDA) สหรัฐอเมริกา ไม่อนุญาตให้ใช้ยาแดงดังกล่าว เนื่องจากความเสี่ยงจากพิษสารปรอท (Mercury poisoning)

ในสมัยใหม่ ชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น ได้วิวัฒนาแตกต่างจากเดิมไปมาก อาทิ การครอบคลุมถึงการใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal protective equipment : PPE) ซึ่งแตกต่างไปตามความเสี่ยงของการติดเชื้อ (Risk of infection) โดยเฉพาะถุงมือ Gloves) ซึ่งใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของการติดเชื้อ

นอกจากนี้ ยังมี แว่นป้องกันดวงตา (Goggles) หน้ากากศัลยกรรม (Surgical mask) เพื่อลดความเป็นไปได้ของการติดเชื้อผ่านการหายใจ (Airborne infection transmission) [หมวกคลุมผม (Headwear) ถุงคลุมรองเท้า (Shoe cover)] และผ้ากันเปื้อน (Apron) [ป้องกันร่างกายจากสิ่งสกปรก]

ในระดับที่สูงขึ้นไปอีก ชุดปฐมพยาบาล ยังรวมมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ (Instruments and equipment) ที่ใช้ในการบำบัดหรือผ่าตัด ได้แก่ กรรไกรตัดแต่งแผลฉกรรจ์ (Trauma shears) กรรไกรธรรมดา (Scissors) คีมหนีบ (Tweezers) และคีมคีบ (Pliers)

แล้วยังมีผ้าชุบแอลกอฮอล์ (Alcohol pad) เพื่อทำความสะอาด (Sanitize) เครื่องมือผ่าตัดหรือผิวหนังที่ไม่มีแผล กระบอกฉีดเพื่อการล้างแผล (Irrigation syringe) พร้อมมีปุ่มปลายท่อ (Catheter tip) สำหรับทำความสะอาดแผลด้วยน้ำปราศจการเชื้อ (Sterile water) น้ำเกลือ (Saline) หรือสารละลายไอโอดีน (Iodine)

นอกจากนี้ ยังมีถุงเย็น (Cold pack) ผ้าเช็ดมือ (Hand wipe) ที่ฆ่าเชื้อแล้ว (Antiseptic) กระบอกไฟฉาย (Torch) เครื่องวัดอุณหภูมิ (Thermometer) ผ้าห่มฉุกเฉิน (Emergency blanket) ซึ่งทำด้วยแผ่นฟอยล์พลาสติก และก้อนสำลี (Cotton swab)

แหล่งข้อมูล:

  1. ตู้ยาโรงเรียนหวังเด็กสุขภาพดี http://www.dailynews.co.th/article/729/151476 [2012, August 31].
  2. First aid kit. http://en.wikipedia.org/wiki/First_aid_kit [2012, August 31].