ชีวิตเส็งเคร็ง จากมะเร็งท่อน้ำดี (ตอนที่ 2)

นายแพทย์สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่าจากการประชุมร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา ได้พบข้อมูลน่าสนใจ โดยเฉพาะอัตราการป่วยจากโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีของตับ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยประมาณ 1 – 2 คน ต่อประชากรโลก 1 แสนคน

แต่สำหรับประเทศไทยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10 – 15 คนต่อประชากร 1แสนคน โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบอัตราป่วยมะเร็งชนิดนี้สูง 30 – 40 คน ต่อประชากร 1 แสนคน มากกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก นอกจากนี้ ในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะมีอัตราเกิดโรคมะเร็งตับและ/หรือมะเร็งท่อน้ำดีของตับสูงถึงประมาณ 80 คนต่อประชากร 1 แสนคน จัดว่าเป็นปัญหาที่น่ากังวลของภาคนี้โดยตรง และต้องได้รับการแก้ไขเป็นการด่วน

โรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับ เป็นเซลล์มะเร็งในกลุ่มเดียวกับโรคมะเร็งของตับอ่อน (ซึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่า 20 เท่า) โรคมะเร็งถุงน้ำดี (เกิดขึ้นบ่อยกว่า 2 เท่า) และโรคมะเร็งท่อน้ำดีนอกตับ แต่วิธีการรักษาและงานวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับ มีจำนวนนน้อยกว่างานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งตับอ่อน ดังนั้น จึงมีการใช้งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็งตับอ่อน เป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับ

ในทางชีววิทยา ทั้งสองโรคจะแตกต่างกันตรงที่โรคมะเร็งตับอ่อนอาจรักษา ได้ด้วยเคมีบำบัด จนถึงขั้นสงบโรคได้อย่างถาวร (Permanent Remission) แต่ในปัจจุบัน โรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับนั้น ยังไม่มีรายงานถึงการรอดชีวิตระยะยาว แม้หลังรับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาในผู้ป่วยที่ผ่าตัดได้

โรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับในโลกเป็นโรคมะเร็งที่ถือว่าพบน้อยน้อยมาก โดยมีผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยใหม่ประมาณ 2,000 -3,000 ราย ในสหรัฐอเมริกา พบอุบัติการณ์เพียงปีละประมาณ 1 – 2 ราย ต่อประชากร 1 แสนคน รายงานผลการชันสูตรศพระบุว่ามีอุบัติการณ์อยู่ที่ประมาณ 0.01 – 0.46%

แต่ในเอเชียมีการแพร่หลายของโรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับมากกว่า ซึ่งน่าจะเป็นผลจากการระบาดของโรคติดเชื้อพยาธิเรื้อรัง โดยที่อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับเพิ่มตามอายุ และสัดส่วนค่อนข้างจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง อาจเป็นผลจากการพบโรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งขั้นปฐมภูมิในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ตามรายงานการชันสูตรศพ ความแพร่หลายดังกล่าวในผู้ป่วยที่โรคท่อน้ำดีอักเสบแข็งขั้นปฐมภูมิ อาจสูงถึง 30%

งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า โรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับกำลังเพิ่มอุบัติการณ์ขึ้น ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย สาเหตุของการเพิ่มขึ้นดังกล่าวยังไม่แน่ชัด อาจเป็นผลจากการพัฒนาของกระบวนกาวินิจฉัยก็เป็นได้ แต่ในขณะเดียวกันปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับ อาทิ การติดเชื้อเอชไอวีก็เพิ่มขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน

ปัจจุบันประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับสูงที่สุดในโลก กล่าวคือค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 84.6 คนต่อประชากรชาย 100,000 คน และ 36.8 คน ต่อประชากรหญิง 100,000 คน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ข้อมูลจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รายงานว่าพบโรคมะเร็งท่อน้ำดีของตับเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่กำเนิดขึ้นในตับ โดยมีมีอุบัติการณ์ 300 รายต่อปี

แหล่งข้อมูล:

  1. เผยปลาร้าดิบทำคนอีสานป่วยมะเร็งตับ-ท่อน้ำดี สูงสุดในโลก http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000022649 [2012, February 23].
  2. มะเร็งท่อน้ำดี http://th.wikipedia.org/wiki/มะเร็งท่อน้ำดี [2012, February 23].