ชีวิตสุขสันต์ ด้วยฟันเทียม

อนุสนธิข่าวเมื่อวานนี้ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยังกล่าวถึงโครงการส่งเสริมสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ตั้งเป้าใส่ฟันเทียมทั้งปาก 30,000 ราย

ฟันเทียม (Dentures) หรือรู้จักกันในนาม “ฟันปลอม” (False teeth) เป็นอุปกรณ์เทียม (Prosthetic device) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทดแทนฟันซี่ที่สูญเสียไป และค้ำจุนโดยเนื้อเยื่อรอบข้างทั้งที่อ่อนและแข็งของโพรงในปาก ฟันเทียมแบบดั้งเดิมสามารถถอดเข้าออกได้

รูปแบบฟันเทียมมีหลากหลาย บางรูปแบบขึ้นอยู่กับการเชื่อมติดหรือยึดติดตัวฟันหรือการใส่รากฟัน (Dental implants) แต่แยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่สูญหายไปบนขากรรไกรล่าง (Mandibular arch) หรือบนขากรรไกรบน (Maxillary arch)

ผู้ป่วยอาจสูญเสียฟันทั้งปาก (Edentulous) ด้วยสาเหตุหลายประการ แต่ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากโรคฟัน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับโรคปริทันต์ (Periodontal disease) [ปริทันต์ = เนื้อเยื่อล้อมรอบฟัน] และฟันผุ เหตุผลอื่นๆได้แก่ ความบกพร่องจากวิวัฒนาการของฟัน อันมีสาเหตุมาจากการขาดสารอาหารที่รุนแรง และความบกพร่องจากพันธุกรรม

คุณประโยชน์ของฟันเทียม ได้แก่การช่วยให้ผู้ป่วยเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้นหลังจากการทดแทนด้วยฟันเทียม ความสวยงามของฟันเทียม ทำให้ใบหน้าดูสวยงามตามไปด้วย และการใส่ฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่สูญเสียไป ช่วยพยุงริมฝีปากและแก้ม นอกจากนี้ยังช่วยแก้ไขรูปโฉมปากที่แฟบลง หลังการสูญเสียฟันไป

การออกเสียง (Pronunciation) ก็จะดีขึ้นในหมู่คำที่ประกอบด้วยเสียงแหลม (Sibilant) หรือเสียงเสียดสี (Fricative) หลังการทดแทนฟันที่สูญเสียไป โดยเฉพาะฟันส่วนหน้า ทำให้ผู้ป่วยพูดได้ดีขึ้น เพิ่มความมั่นใจในตนเอง (Self-esteem)

ฟันเทียมชนิดถอดได้ (Removable) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันบางซี่บนขากรรไกรบนและล่าง ฟันเทียมชนิดถอดไม่ได้ (Fixed) หรือรู้จักกันในชื่อ “ครอบฟันและสะพานฟัน” (Crown and bridge) นั้นทำจากครอบฟัน ซึ่งเหมาะเจาะกับฟันส่วนที่เหลือ ทำหน้าที่ค้ำยัน และทำจากวัสดุที่คล้ายกับฟันซี่ที่สูญเสียไป ฟันเทียมที่ถอดไม่ได้ จะแพงกว่าชนิดที่ถอดได้ แต่ก็ทนทานกว่า

ฟันเทียมทั้งปาก (Complete or full dentures) จะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันทุกซี่บนขากรรไกรบนและล่าง การทำความสะอาดฟันเทียมทุกวันเป็นสิ่งที่ทันตแพทย์แนะนำ คราบหินปูนจากน้ำลายสามารถสะสมตามซอกฟันเทียมในลักษณะเดียวกันกับฟันแท้ตามธรรมชาติ การทำความสะอาดอาจทำได้โดยใช้สารเคมีหรือกลไกทางกายภาพ

เทคโนโลยีรากฟันเทียมสามารถสร้างประสบการณ์ [ที่ดีๆ]ของการใส่ฟันเทียม ด้วยการเพิ่มเสถียรภาพ (Stability) และลดการสึกหรอของกระดูกขากรรไกร แล้วยังเพิ่มปัจจัยความคงทน (Retention) อาทิ แทนที่จะใส่รากฟันเพื่อเป็นกลไกขัดขวางฟันเทียมในการดันกระดูกเบ้าฟัน (Alveolar bone) ก็สามารถใช้อุปกรณ์ชิ้นเล็กๆ ยึดติดกับรากฟันที่ขบฐานฟันเทียม เพื่อเพิ่มความคงทน

แหล่งข้อมูล:

  1. สธ. เดินหน้าสนองนโยบายรัฐ พัฒนางานสาธารณสุขปี -55 http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000157287&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2011, December 16].
  2. Dentures. http://en.wikipedia.org/wiki/Dentures [2011, December 16].