ฉี่หนู (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

ฉี่หนู

ส่วนอาการที่พบได้น้อย ได้แก่

  • ปวดท้อง
  • ปวดกระดูก
  • เยื่อบุตาอักเสบ (Conjunctivitis)
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ม้ามหรือตับโต
  • ปวดข้อ
  • ผิวหนังเป็นผื่น
  • เจ็บคอ

สำหรับอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • ปฏิกริยาจาริช-เฮิกซัยเมอร์ (Jarisch-Herxheimer reaction : JHR)
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
  • เลือดออกรุนแรง (Severe bleeding)

และหากไม่ทำการรักษา อาจทำให้สมองถูกทำลาย ไตวาย ตกเลือด ปอดไม่ทำงาน และเสียชีวิตได้

การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้ด้วยการ

  • การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด Complete blood count (CBC)
  • การตรวจเลือดเพื่อดูค่า Creatine kinase
  • การตรวจเอนไซม์ตับ (Liver enzymes)
  • การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis)

ส่วนการรักษาโรคฉี่หนูมักให้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) อย่างเช่น

  • Ampicillin
  • Azithromycin
  • Ceftriaxone
  • Doxycycline
  • Penicillin

ทั้งนี้ การป้องกันโรคฉี่หนูทำได้โดย

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีน้ำนิ่ง อากาศร้อนชื้น
  • สวมเสื้อผ้าป้องกันให้มิดชิดกรณีที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในแหล่งน้ำที่อาจมีเชื้อปนเปื้อน
  • หากมีแผลให้รีบทำความสะอาดและปิดแผลให้เรียบร้อย

แหล่งข้อมูล

1. Leptospirosis. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/article/001376.htm [2016, January 22].

2. Leptospirosis. http://www.who.int/zoonoses/diseases/leptospirosis/en/[2016, January 22].

3. Leptospirosis. http://www.nhs.uk/conditions/Leptospirosis/Pages/Introduction.aspx [2016, January 22].