จี้หัวใจสยบไหลตาย (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

จี้หัวใจสยบไหลตาย

โรคใหลตายมักมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรืออาจเป็นผลจากการมีโครงสร้างหัวใจที่ผิดปกติ ความไม่สมดุลของสารเคมีที่ช่วยในการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปทั่วร่างกาย (Electrolytes) การใช้ยาบางชนิด หรือการเสพโคเคน

ปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคใหลตาย ได้แก่

  • หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคใหลตาย ความเสี่ยงในการเป็นโรคจะสูงขึ้น
  • เพศชายมีโอกาสเป็นสูงกว่าเพศหญิงพบในคนเชื้อชาติเอเชียมากกว่าเชื้อชาติอื่น
  • มีไข้ เพราะขณะที่เป็นไข้อาจมีผลต่อกระทบต่อหัวใจซึ่งกระตุ้นให้เกิดอาการใหลตายหรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน

นอกจากการตรวจร่างกาย การฟังเสียงหัวใจด้วยหูฟังของแพทย์ (Stethoscope) แล้ว สามารถตรวจได้ด้วย

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram = ECG) ซึ่งเป็นการจับจังหวะการเต้นของหัวใจ อย่างไรก็ดีเนื่องจากการเต้นของหัวใจอาจเปลี่ยนแปลง ดังนั้นแพทย์จึงอาจให้ยาทางหลอดเลือดร่วมด้วย เพื่อช่วยให้เห็นสัญญาณ Type 1 Brugada ECG pattern ได้ดียิ่งขึ้น
  • การตรวจทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology test = EP) ใช้ตรวจประเมินสัญญาณไฟฟ้าหัวใจและทางเดินไฟฟ้าหัวใจ การตรวจวิธีนี้ใช้เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่หัวใจเต้นผิดปกติและหาวิธีรักษาที่เหมาะสมที่สุด

    [วิธีทำก็คือสอดสายไฟฟ้าสวนเข้าไปทางหลอดเลือดที่แขนหรือขาให้ปลายสายวิ่งไปถึงหัวใจ แล้ววัดไฟฟ้าตามจุดต่างๆ ดูจนคอมพิวเตอร์วาดภาพได้ว่าไฟฟ้าที่ผิดปกติวิ่งทางไหน แล้วจึงหาวิธีการหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรักษาจังหวะหัวใจที่เต้นผิดปกติ]

  • การตรวจทางพันธุกรรม กรณีที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคนี้

การรักษาโรคใหลตายขึ้นอยู่กับความเสี่ยงของหัวใจที่เต้นผิดจังหวะ โดยใช้

  • การฝังเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ (Implantable Cardioverter-Defibrillator = ICD) ซึ่งเป็นการฝังเครื่องมือคล้ายๆ กับเครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker) ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหัวใจห้องล่างเต้นผิดปกติ (Ventricular Fibrillation) และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เมื่อหัวใจเต้นช้าเครื่องมือก็จะกระตุ้นหัวใจ แต่เมื่อหัวใจเต้นเร็วขนาดที่อาจเป็นอันตราย เครื่องจะปล่อยพลังงานไฟฟ้าระดับที่เหมาะสมเพื่อกระตุกให้หัวใจกลับมาเต้นปกติทันที
  • การรักษาด้วยยา เช่น ยา Quinidine ที่ใช้ป้องกันหัวใจจากการเต้นที่ผิดปกติ
  • การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง (Radiofrequency ablation = RFA)
  • แหล่งข้อมูล

    1. Brugada syndrome. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/brugada-syndrome/basics/definition/con-20034848 [2016, April 10].

    2. Brugada syndrome. http://emedicine.medscape.com/article/163751-overview [2016, April 10].