จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 2
จิตวิทยาวัยรุ่น ตอนที่ 78 : วัยรุ่นฆ่าตัวตาย (2)

จิตวิทยาวัยรุ่น

กรณีที่สาม โทมัส (Thomas) อายุ 19 ปี ฆ่าตัวตายวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2533 โทมัสเรียนเก่งมาก ได้คะแนน A ทุกวิชา เขาชอบอ่าน ฟังผู้ใหญ่ และตกปลาล่าสัตว์ เขาไม่ดื่ม [แอลกอฮอล์] สูบ [บุหรี่] หรือทำงานหนัก (Sweat) เขาอยู่ไกลจากตัวเมือง จนไม่มีเพื่อนคู่หู (Buddy) พ่อเขาตายเมื่อเขาอายุ 9 ขวบ และ 2 ปี ก่อนหน้านี้ ปู่ของเขาซึ่งทนทุกข์ทรมานจากโรคมะเร็งขั้นสุดท้าย ได้ฆ่าตัวตายด้วยปืนยิงเข้าที่ศีรษะ

โทมัสได้ยิงตัวเอง [แต่ไม่ตาย] ในบ่ายวันหนึ่ง แต่ตกค่ำของวันเดียวกัน เขาก็ยิงตัวตายได้สำเร็จ เขาทิ้งข้อความไว้ว่า “ฉันควรเริ่มต้นที่ไหน? ฉันไม่รู้จริงๆ เป็นการยากที่จะพูดถึงสิ่งที่ดำเนินอยู่อีก ฉันรู้สึกมาเป็นเวลานานแล้วว่า ฉันอยู่บนสุดขอบ [เหว] แล้วตกลงมาอย่างรวดเร็ว ฉันเดาว่า ในที่สุด ฉันก็ได้ตกจากขอบ [เหว] จริงๆ”

กรณีสุดท้าย เจอรี่ (Jerry) อายุ 17 ปี ฆ่าตัวตายวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 เจอรี่เป็นนักเรียน “เจ้าปัญหา” (Troubled) ที่สุดในจำนวนวัยรุ่นที่ฆ่าตัวตาย เขาเป็นที่นิยม (Popular) ของเพื่อนฝูง ชอบเข้าสังคม (Gregarious) หน้าตาดี และเคร่งครัดในศาสนา จนได้รับสมญานามว่า “เด็กนักเทศน์” (Preacher boy)

เพียง 1 คืน หลังจากทอมมี่ได้ฆ่าตัวตาย เขาบอกแม่ของเขาว่า “ฉันไม่เข้าใจ ใครก็ตามที่ฆ่าตัวตาย นั่นเป็นวิธีที่ขี้ชลาด (Coward) มาก” อย่างไรก็ตาม ในคืนเดียวกันนั้น เขาโทรศัพท์หาแฟนสาวของเขา แล้วพูดว่า “ฉันรักเธอ ฉันจะคุยกับเธอพรุ่งนี้” แต่วันรุ่งขึ้น เขากลับอยู่แต่ในบ้าน ไม่ไปโรงเรียน จากนั้นประมาณเที่ยง เขาก็ยิงตัวตายที่ศีรษะ แม้ว่า ครอบครัวของเขาจะยืนยันว่าการตายของเจอรี่เป็นอุบัติเหตุก็ตาม กล่าวโดยสรุป แพทย์พบปัญหาที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตาย ดังต่อไปนี้

  • ปัญหาส่วนใหญ่ในทางจิตวิทยา (Psychological problem) ได้แก่ ความซึมเศร้า (Depression) ความรู้สึกหมดหวัง (Helpless) และเกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติด (กล่าวคือ เหล้าในกรณีของเรย์ม่อนด์) ปัญหาเหล่านี้ มักเกิดขึ้นก่อน [การฆ่าตัวตาย] เป็นเวลายาวนาน
  • อาการส่วนใหญ่ในทางพฤติกรรม (Behavioral symptom) ได้แก่ ผลการเรียนที่ตกต่ำลง การแยกตัวหรือถอนตัวออกจากสังคม ปัญหากับพ่อแม่ พี่น้อง (Siblings) และเพื่อนๆ ตลอดจนพฤติกรรมที่ต่อต้านสังคม (Anti-social) ดังข้อความลาตายของโทมัส
  • ในกรณีฆ่าตัวตายส่วนใหญ่ มี “ตัวผลักดันให้เกิดขึ้น” (Precipitator) ซึ่งอาจเป็นเหตุการณ์ ความรู้สึก หรือสถานการณ์ ตัวอย่างของตัวผลักดันให้เกิดขึ้น ได้แก่ ปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ ‘[กับผู้อื่น] จำนวนครั้ง (Bout) ของการซึมเศร้า ปัญหาการดื่มของมึนเมา และ “ตัวสร้างความเครียด” (Stressor) อาทิ ปัญหาในการนัดเที่ยว-กินอาหาร(Date) กับเพศตรงข้าม ปัญหากับพ่อแม่ หรือปัญหากับโรงเรียน
  • เหยื่อ (Victim) จำนวนมาก ได้แสดงออกถึงความปรารถนาอยากตาย หรือขู่ฆ่าตัวตาย อย่างในกรณีของ เรย์มอนด์ และ ทอมมี่ เหตุผลหนึ่งที่พ่อแม่และเพื่อนๆ ของเหยื่อ ต้องตกใจสุดขีด (Shock) กับการฆ่าตัวตายของวัยรุ่นทั้งสองรายก็คือ ปัญหา หรือ “ตัวผลักดันให้เกิดขึ้น” อาจไม่ปรากฏสัญญาณให้เห็นได้ชัด

แหล่งข้อมูล

  1. Shaffer David R. and Katherine Kipp (2010). Developmental Psychology : Childhood & Adolescence (8th Ed). Belmont, CA: Wadsworth-Cengage Learning.
  2. Youth suicide - http://en.wikipedia.org/wiki/Teenage_suicide [2015, March 24].