จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 2 จิตวิทยาวัยรุ่น ตอนที่ 50 : วัยรุ่นมองตนเอง (2)

จิตวิทยาวัยรุ่น

ในการวิจัยสำรวจความคิดเห็นของวัยรุ่น 3 กลุ่ม อายุ 13, 15 และ 17 ปี พบว่า วัยรุ่นกลุ่ม 15 ปี ไม่พอใจมากที่สุดกับความไม่สอดคล้อง (Inconsistency) ที่ตนเองแสดงออก (Self-portrayal) อันเป็นพฤติกรรมแสแสร้ง (False self-behavior) เมื่อพยายามปรับปรุงภาพลักษณ์ (Image) ของตนเอง เพื่อให้พ่อแม่หรือเพื่อนฝูงชื่นชอบ แต่ในส่วนลึกของวัยรุ่นกลุ่มนี้ กลับมีความมั่นใจน้อยที่สุด อาจเป็นเพราะเขารู้ดีว่า ตัวตนที่แท้จริงของเขาเป็นอะไรกันแน่

ความไม่สอดคล้องดังกล่าว ไม่เป็นสิ่งที่น่ารำคาญใจ (Bothersome) ในกลุ่มวัยรุ่นอายุ 17 ปี ซึ่งได้บูรณาการภาพที่ตนแสดงออก ให้เข้ากับการมองตนเองในระดับที่สูงขึ้น โดยสรุปว่า การแสแสร้งดังกล่าว เป็นสิ่งที่เข้าใจกันได้ ไม่น่าจะกังวัลใจ และมีความมั่นใจในเกือบทุกสถานการณ์

ในกลุ่มวัยรุ่น 17 ปี ได้แสดงออกถึงความเป็นกลางในเรื่องการยอมรับได้ในความไม่สอดคล้องและความสับสน โดยอยู่ระหว่างกลุ่มอายุ 13 ปี และ 15 ปี ตัวอย่างเช่น การมองตนเองว่า เป็นคนอ่อนไหวตามอารมณ์ (Moodiness) ในการอธิบายความรู้สึก “สุขใจ” (Cheerful) ที่ได้อยู่กับเพื่อนฝูงในบางโอกาส แต่อาจ “รำคาญใจ” (Irritable) ที่ได้อยู่กับเพื่อนฝูง [กลุ่มเดียวกัน] ในโอกาสอื่นๆ

ในประเด็นนี้ นักวิจัยเชื่อมั่นในพัฒนาการรับรู้ (Cognitive) ของวัยรุ่น แล้วลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยปรียบเทียบกับนามธรรม (Abstract) ของลักษณะ “สุขใจ” กับ “รำคาญใจ” แล้วบูรณาการเป็นแนวความคิด (Concept) ของ “การอ่อนไหวตามอารมณ์” ว่า เป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงของการมองตนเอง (Self-perception) ในวัยรุ่น

สรุปแล้ว การมองตนเอง (Self-concept) ได้กลายเป็นการบูรณาการของภาพถ่ายตนเอง (Self-portrait) จากวัยเด็กไปสู่วัยรุ่น (1) ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจมากขึ้น (2) เป็นนามธรรมมากกว่า และ (3) เชื่อมโยงกันอย่างแน่นแฟ้น (Coherent) ขึ้น วัยรุ่นกลายเป็น “นักทฤษฎีอัตตา” (Self-theorist) ที่สามารถสะท้อนถึง (และเข้าใจ) การทำงานของบุคลิกภาพ (Personality)

ภาพใหญ่ (Global) ของพัฒนาการการมองตนเองดังกล่าว ส่วนใหญ่เกิดจากผลการวิจัยในสังคมตะวันตกที่พัฒนาแล้ว ซึ่งให้คุณค่า (Value) แก่การพึ่งพาตนเอง (Independence) และให้ความสำคัญแก่ คุณลักษณะ (Attribute) ส่วนบุคคล ว่าเป็น ลักษณะเด่น (Hallmark) ของอุปนิสัย (Character) คำถามต่อไปก็คงเป็น “แล้วการมองตนเองได้รับอิทธิพลจากต่างวัฒนธรรมหรือไม่?”

อันที่จริง สิ่งที่พึงปรารถถนาในวิถีทางของการมองตนเอง แตกต่างอย่างมากไปตามวัฒนธรรม เราอาจเรียกสังคมตะวันตก อาทิ สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย และประเทศที่พัฒนาแล้วในทวีปยุโรป ว่าเป็น “สังคมส่วนบุคคลหรือปัจเจกชน” (Individualistic) ที่ให้คุณค่าแก่การแข่งขัน (Competition) และความคิดริเริ่ม (Initiative) ตลอดจนแนวโน้มที่ตอกย้ำวิถีทางที่วัยรุ่นแตกต่างจากผู้อื่นๆ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth-Thompson Learning.
  2. Self-perception theory - http://en.wikipedia.org/wiki/Self-perception [2014, December 16].