จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 2
จิตวิทยาวัยรุ่น ตอนที่ 40 : ผลทางจิตจากวัยเจริญพันธุ์ (3)

จิตวิทยาวัยรุ่น

ผลการวิจัยแสดงว่า เป้าหมายของน้ำหนักที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานเกณฑ์ปรกติของประชากร (Population norm) ในการเปรียบเทียบกับอายุและส่วนสูง มักเป็นเป้าหมายที่ต่ำเกินไปสำหรับสาวรัยรุ่น โดยเฉพาะการบริโภค (Intake) สารอาหารเพิ่มพลัง (Nutrient)

สาววัยรุ่นที่อยู่ในภาวะจำกัดอาหารจนเกินไป (Anorexia) มักมีอุบัติการณ์ของกระดูกแตก (Fracture) และมีความเสี่ยงสูงสำหรับพัฒนาการแต่เนิ่นๆ ของภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับครอบครัว ที่ดูเหมือนจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการกินและควบคุมน้ำหนักในวัยรุ่น

สภาพแวดล้อมของครอบครัวที่ไร้ระเบียบ (Chaotic) หรืออึกทึก (Tumultuous) อาจทำให้วัยรุ่นมีความเสี่ยงสูงของความผิดปรกติในการกิน (Eating disorder) การสูญเสียสมาชิกในครอบครัว (อาทิ การตายหรือการหย่าร้าง) ความขัดแย้งในระดับสูง และการแสดงอารมณ์โศกเศร้าของสมาชิกของครอบครัว ล้วนสัมพันธ์กับภาวการณ์กินอาหารที่ผิดปกติ (Bulimia)

วัยรุ่นที่มีประวัติครอบครัวของความผิดปรกติในการกิน และผู้ที่มาจากครอบครัวที่เน้นรูปลักษณ์ (Appearance) และภาพลักษณ์ (Image) ของร่างกาย มีแนวโน้มที่จะใช้มาตรการควบคุมน้ำหนักที่ไม่ดีต่อสุขภาพ (Unhealthy) แล้วขยายจนสุดขั้ว (Full-blown) ของความผิดปรกติในการกิน

อีกปัจจัยหนึ่งภายในครอบครัวที่ดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์ที่ค่อนข้างมากกับความไม่พึงพอใจต่อภาพลักษณ์ของร่างกาย และปัญหาพฤติกรรมของน้ำหนักก็คือ ความรู้สึกที่ปราศจากความรักความอบอุ่มจากพ่อแม่ อันที่จริง ปัจจัยความสัมพันธ์ภายในบุคคล (Intrapersonal) ดังกล่าว มักเป็นเรื่องของอารมณ์และพฤติกรรม

ปัจจัยทางอารมณ์ ได้แก่ แนวโน้มที่วัยรุ่นจะฝังจิตฝังใจ (Internalize) อารมณ์ตึงเครียด (Intense stress) สาววัยรุ่นที่มีภาวะกินอาหารผิดปกติ ดูเหมือนจะมีปัญหามาก ในการแสดงออกซึ่งอารมณ์ความรู้สึกต่อภายนอก

ในผลงานวิจัยชิ้นหนึ่ง สาววัยรุ่นที่มีภาวะกิน อาหารผิดปกติ มักไม่เต็มใจแสดงความรู้สึกออกมา เมื่อเปรียบเทียบกับสาววัยรุ่นที่มีภาวะซึมเศร้า (Depression) หรือมีประวัติปัญหาทางจิต แต่ไม่มีภาวะกินอาหารผิดปกติ สาวดังกล่าวยังใช้เวลามากกว่าในการแสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมา และมีปัญหาในการแยกแยะอารมณ์ (Mood) ของตนเอง

ภาวะซึมเศร้าที่ยืดเยื้อ (Dysthymia) ซึ่งมักสัมพันธ์กับภาวะกินอาหารผิดปกติ จัดอยู่ในระดับต่ำของเกณฑ์อารมณ์ (Emotional scale) กล่าวคือ การแปรปรวน (Swing) ต่อความเศร้า และต่อความหดหู่สิ้นหวัง (Despondencies) ซึ่งเป็นตัวกำหนดลักษะเฉพาะ (Characterize) ความซึมเศร้าประเภทอื่นๆ ด้วย

แหล่งข้อมูล

  1. Shaffer David R. and Katherine Kipp (2010). Developmental Psychology : Childhood & Adolescence (8th Ed). Belmont, CA: Wadsworth-Cengage Learning.
  2. The Psychological Impact of Puberty - http://www.livestrong.com/article/83801-psychological-impact-puberty/ [2014, November 11].