จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 2
จิตวิทยาวัยรุ่น ตอนที่ 34 : แนวโน้มทางเพศ (1)

จิตวิทยาวัยรุ่น

ส่วนหนึ่งของการเกิด (Establish) อัตลักษณ์ (Identity) ทางเพศ คือการเริ่มรับรู้แนวโน้มทางเพศ (Sexual orientation) หรือความชื่นชอบคู่ครองทางเพศ (Sexual partner) ที่เป็นเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้าม แนวโน้มทางเพศ เกิดขึ้นบนช่วงต่อเนื่อง (Continuum) ระหว่างแนวโน้มรักต่างเพศ (Heterosexual) แนวโน้มรักร่วมเพศ [เดียวกัน] (Homosexual) หรือแนวโน้มรักทวิเพศ (Bisexual) [กล่าวคือ สามารถรักต่างเพศและรักร่วมเพศในเวลาเดียวกัน]

ประมาณ 15% ของวัยรุ่นอเมริกัน ประสบความรู้สึกเสน่หาจากเพศเดียวกัน แม้ว่าวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเกิดแนวโน้มต่างเพศ โดยปราศจากการแสวงหา (Soul-searching) ใน 5% ถึง 9% ของวัยรุ่นอเมริกันที่มีเสนห์ต่อเพศเดียวกัน กระบวนการยอมรับว่า เขามีแนวโน้มเพศเดียวกันนั้น เป็นช่วงยาวนานที่ทนทุกข์ทรมาน (Torturous) เพราะสังคมมีทัศนคติในเชิงลบ (กล่าวคือ ไม่ยอมรับ) แม้เจ้าตัวจะเกิดความรู้สึกในเชิงบวก (กล่าวคือ อัตลักษณ์ที่ยอมรับได้)

วัยรุ่นที่ต้องเสน่หาจากเพื่อนเพศเดียวกัน มักแสดงการประเมินคุณค่าในตนเองที่ระดับต่ำกว่าวัยรุ่นที่ต้องเสน่หาจากเพื่อนต่างเพศ และอาจกังวล (Anxious) หรือซึมเศร้า (Depress) ในความเป็นหนุ่มรักร่วมเพศ (Gay) หรือ สาวรักร่วมเพศ (Lesbian) เนื่องจากความกลัวว่า จะไม่เป็นที่ยอมรูป (Reject) ของสมาชิกในครอบครัว หรือถูกล่วงเกินทางร่างกาย หรือถูกถากถางทางวาจา หากทราบว่า เป็นพวกรักร่วมเพศ

ดังนั้น เขาอาจไม่มีความกล้า (Courage) พอที่จะแสดงตัวออกมาให้เห็นจนกว่าอายุจะบรรลุ 16 ปี ถึง 19 ปี หรือไม่บอกให้พ่อแม่ทราบจนกกว่าอีก 1 ปี ถึง 2 ปีหลังจากนั้น หรือปิดเงียบไปเลย ในวัฒนธรรมของบางชุมชน อาจเป็นการยากที่จะยอมรับ การรักร่วมเพศ (Homosexuality)

เมื่อไม่นานมานี้ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ได้ช่วยให้วัยรุ่นรักร่วมเพศ สามารถรับมือกับความท้าทายที่เขาเผชิญอยู่ อย่างได้ประสิทธิผลยิ่งขึ้น สิ่งที่เป็น “ชนักติดหลัง” (Stigma) ของกลุ่มรักร่วมเพศชาวอเมริกัน ได้ถูกขจัดไปในคริสต์ทศวรรษ 1970 (รำหว่าง พ.ศ. 2513 ถึ พ.ศ. 2522) เมื่อสมาคมจิตวิทยาและจิตแพทย์อเมริกัน (American Psychological and Psychiatric Association) ได้ออกมาประกาศ (Proclaim) ว่า รักร่วมเพศมิได้เป็นความผิดปรกติทางจิต แต่อย่างใด

นอกจากนี้ กลุ่มสนับสนุน (Support group) ซึ่งประกอบด้วยนักเรียนทั้งที่เป็นรักร่วมเพศ และมิได้เป็น (Straight) ในโรงเรียนอเมริกัน ชันมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้ทวีจำนวนขึ้น และกลายเป็นสิ่งพบเห็นทั่วไป รวมทั้งบทบาทตัวอย่าง (Role model) ในเชิงบวกตามสื่อต่างๆ ก็เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น

ปรากฏการณ์เหล่านี้ ได้สื่อสารให้ผู้คนที่มีแนวโน้มทางเพศทุกประเภทว่า กลุ่มรักร่วมเพศ มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนคนทั่วไป เพียงแต่มีแนวโน้มทางเพศที่แตกต่างเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กลุ่มรักร่วมเพศก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทาย จากบางคนที่มีความกลัวกลุ่มรักร่วมเพศ (Homophobic) ว่า เป็นบุคคลน่าขยะแขยง (Revulsion) ของสังคมที่รังเกียจความแตกต่างทางเพศ

แหล่งข้อมูล

1. Shaffer David R. and Katherine Kipp (2010). Developmental Psychology : Childhood & Adolescence (8th Ed). Belmont, CA: Wadsworth-Cengage Learning.
2. Homosexuality - http://en.wikipedia.org/wiki/Homosexuality [2014, October 21].