จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 2
จิตวิทยาวัยรุ่น ตอนที่ 29 : กรณีชิงสุกก่อนห่าม (1)

จิตวิทยาวัยรุ่น

หลังจากประสบการณ์ 20 ปี ในการเป็นแพทย์ด้านสูติ-นรีเวช (Obstetrics Gynecology) ในนคร Indianapolis รัฐอินเดียนน่า นายแพทย์วิลเลียม สโตน (William Stone) รู้สึกระตือรือร้นที่จะเปิดคลินิก ในชุมชนที่เขาอาจสร้างความแตกต่าง (Making a difference) ได้ เขาเลือกทิปตั้น (Tipton) ซึ่งเป็นเมืองเล็กๆ ในรัฐเดียวกัน

สิ่งแรกที่เขาสังเกตเกี่ยวกับวัยรุ่น ก็คือ สาวอายุเพียง 14 ปี ก็มีทารกน้อยที่อุ้มอยู่ในครรภ์แล้ว และก็มิใช่ “รูปแบบสาวใจแตกทั่วไป” (Stereotypical troubled girl) แต่เป็นสาววัยรุ่นจากครอบครัวที่มีฐานะดี และเรียนเก่ง ติดอันดับเกียรตินิยมระดับชาติ (National Honor Society)

ในปีแรกที่เขาเปิดคลินิก เขาทำคลอดให้วัยรุ่น 16 คน เมื่อเขาตรวจสอบ ก็พบว่า วัยรุ่นที่ “ชิงสุกก่อนห่าม” มีถึง 12% ของอัตราการเกิดของทารกในเมืองทิปตั้น ซึ่งเป็นอัตราที่สูงกว่ารัฐอินเดียนน่าและทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ดังนั้นในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2537 เขาจึงป่าวประกาศให้ทราบว่า เมืองนี้มีปัญหาในเรื่องวัยรุ่นตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ทำให้ชาวเมืองตื่นตัวในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น การเป็นแม่โดยยังมิได้แต่งงาน (Unwed motherhood) และ (สิ่งสำคัญที่สุดก็คือ) ค่านิยมที่พ่อแม่อบรมลูก เมื่อฟังเสียงของเมืองทิปตั้นที่ตกอยู่ในความยากลำบาก ก็อาจสะท้อนเสียงของอเมริกา (Voice of America) ที่ตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน

พ่อแม่ที่พร่ำสอนให้ลูกวัยรุ่นละเว้น (Abstinence) จากการมีเพศสัมพันธ์ แต่แอบ (Secretly) คาดหวังให้ลูกวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ได้ แล้วก็กังวลว่า เด็กอาจจะทำตามอำเภอใจ (Self-fulfilling prophecy) ในขณะที่บาทหลวง (Minister) ท้องถิ่น สังสัยว่า เกิดอะไรขึ้นกับความรู้สึกระอายใจ (Shame) [ต่อบาป]?

ในชุมชนที่ภาคภูมิใจตนเองที่ “เพื่อนบ้าน ช่วยเพื่อนบ้าน” (Neighbors help neighbors) ปรากฏว่า ผู้คนเริ่มตำหนิติเตียนตนเองที่เอาอกเอาใจ (Coddle) คุณแม่ที่ยังเป็นวัยรุ่นมากเกินไป นักการศึกษาเริ่มทุกข์ใจว่า ตนเองได้อำนวยความสะดวกมากเกินไปหรือเปล่า ที่ให้วันรุ่นตั้งครรภ์สามารถสำเร็จการศึกษาเหมือนวัยรุ่นทั่วไปได้ จึงมีโจทย์ที่น่าสนใจดังนี้

  1. ทำไมแพทย์ใหม่ในชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ จึงแปลกใจที่พบว่า 12% ของอัตราเด็กเกิด มาจากคุณแม่ที่ยังเป็นวัยรุ่นอยู่?
  2. ชาวเมืองนี้ไม่รู้ว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาได้อย่างไร ทั้งๆ ที่ทุกคนรู้เรื่องอื่นๆ ของกันและกันหมด?
  3. ทัศนคติ (Attitude) หรือเกณฑ์ปฏิบัติ (Norm) ของกลุ่มไหน ที่ชาวเมืองนี้ได้ปัน (Share)? และกลุ่มได้ประโยชน์อะไรจากการปันเกณฑ์ปฏิบัติ?
  4. ทำไมพ่อแม่ประสบการรับรู้ที่ไม่สอดคล้องกัน (Cognitive dissonance) หลังจากลูกสาวที่แสนดีและน่ารัก “ชิงสุกก่อนห่าม”?
  5. ทำไมการพร่ำสอนให้ละเว้นจากเพศสัมพันธ์จึงไม่ประสบผลสำเร็จ ในการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น?

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth-Thompson Learning.
2. Teenage pregnancy - http://en.wikipedia.org/wiki/Teenage_pregnancy [2014, October 4].