จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 2
จิตวิทยาวัยรุ่น ตอนที่ 18 : พัฒนาการการเคลื่อนไหวในวัยรุ่น (2)

จิตวิทยาวัยรุ่น

ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สังคมอเมริกัน ได้สนับสนุนกิจกรรมทางร่างกายสำหรับสาววัยรุ่น กล่าวคือการมีส่วนร่วมในกีฬาที่มีการแข่งขัน (Competitive) และไม่มีการแข่งขัน (Non-competitive) หลังการผ่านกฎหมายห้ามเลือกปฏิบัติ (Discrimination) บนพื้นฐานของเพศ (Gender) เงินอุดหนุนจากรัฐบาลกลางได้เพิ่มขึ้นอย่างมโหฬาร สำหรับโปรแกรมกีฬาสตรี ทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีผลกระทบต่อวัยรุ่นโดยงตรง

บริษัทเอกชน เช่น ไนกี้ (Nike) ในเข้าสู่สนามของการเล่นด้วยการรณรงค์โฆษณา ซึ่งแสดงภาพของสาวๆ วัยรุ่น ที่ร้องขอว่า “ถ้าคุณยอมให้ฉันเล่นกีฬา . . . “ แล้วกล่าวถึงผลประโยชน์นานัปการทางด้านสุขภาพและสังคม ที่จะได้จากการมีส่วนร่วมในกีฬา อาทิ การเพิ่มขึ้นของความรู้สึกที่มีคุณค่าในตนเอง (Self-worth) ในบรรดานักกีฬาสตรี

แล้วเป็นจริง อย่างที่ไนกี้โฆษณาหรือเปล่า? เป็นคำถามที่ทีมงานนักวิจัยใช้ในการพัฒนาแบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อวัดผลในเชิงลึกและเชิงกว้าง ในการสำรวจการมีส่วนร่วมในกีฬาของนักศึกษาหญิงปีที่ 1 ระดับอุดมศึกษา ทั้งกิจกรรมกีฬาที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ ในช่วงชีวิตนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (High school)

ทีมงานนักวิจัยยังสอบถามผู้เข้าร่วมการสำรวจ ให้กรอกแบบสอบถามที่ประเมินผลระดับปัจจุบันของ (1) การประเมินคุณค่าในตนเอง (Self-esteem) (2) ความรู้สึกถึงขีดความสามารถ (Competence) ทางร่างกาย (3) ภาพลักษณ์ของร่างกาย และ (4) การครอบครองคุณลักษณะ (Attribute) ของ “ชายชาตรี” (Masculine) อาทิ การกล้าแสดงออก (Assertiveness) และความรู้สึกในเชิงบวก (Healthy) ของการแข่งขัน

ผลการวิจัย สนับสนุนการรณรงค์โฆษณาของไนกี้ โดยพบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการที่สตรีมีส่วนร่วมในกีฬาในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย กับการประเมินคุณค่าในตนเองในเวลาต่อมาชีวิต กล่าวคือ สาววัยรุ่นที่มีส่วนร่วมในกีฬาค่อนข้างมากก่อนหน้านี้ จะมีการประเมินคุณค่าในตนเองในระดับค่อนข้างสูง เมื่ออยู่ในระดับอุดมศึกษา

การวิเคราะห์เจาะลึกผลวิจัย เปิดเผยถึงผลกระทบในเชิงบวก ดังนี้ (1) การมีส่วนร่วมในกีฬา มีความสันธ์กับการเพิ่มขึ้นของขีดความสามารถทางร่างกาย พัฒนาการที่ดีขึ้นของภาพลักษณ์ทางร่างกาย และ การได้รับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของ “ชายชาตรี” อาทิ การกล้าแสดงออก และ (2) พัฒนาการเหล่านี้ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับการประเมินคุณค่าในตนเองของชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ทั้งทางตรง และทางอ้อม

ผลวิจัยนี้ ยังสามารถแปรผลได้ว่า ในชั้นเรียนพลศึกษา (Gym class) และกีฬาที่เป็นทีม (Team sport) อาจมีประโยชน์ต่อสตรีจำนวนมาก หากครูฝึก (Trainer) ตอกย้ำ และคิดหา (Devise) หนทางที่จะวัดผล และแสดงให้เห็นภาพ (Illustrate) ผลประโยชน์ทางร่างกายและจิตใจ จากกิจกรรมทางกีฬาอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยลดการมุ่งเน้นผลลัพธ์ (Outcome) จากกีฬาที่มีการแข่งขัน และ/หรือ ความบกพร่องทางร่างกายของนักกีฬาที่ด้อยความสามารถกว่า

แหล่งข้อมูล

1. Shaffer David R. and Katherine Kipp (2010). Developmental Psychology : Childhood & Adolescence (8th Ed). Belmont, CA: Wadsworth-Cengage Learning.
2. Neural development - http://en.wikipedia.org/wiki/Neural_development [2014, August 26].