จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน - ภาคที่ 2
จิตวิทยาวัยรุ่น ตอนที่ 16 : พัฒนาการทางร่างกายในวัยรุ่น (2)

จิตวิทยาวัยรุ่น

ความพร้อมสำหรับระบบการสืบพันธุ์ (Maturation of reproductive system) เกิดขึ้นในช่วงการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด (Growth spurt) ของวัยรุ่น แล้วตามด้วยลำดับที่พยากรณ์ได้ล่วงหน้า (Predictable sequence) ของวัยรุ่น

นักวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ (Endocrinology) ของวัยรุ่นพบว่า ก่อนที่จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น ต่อมควบคุม (Master gland) ต่อมใต้สมอง (Pituitary) จะกระตุ้นให้เกิดการหลั่งฮอร์โมน เพื่อให้รังไข่ (Ovary) ผลิตสาร/ฮอร์โมน เอสโตรเจน (Estrogen) ในสาววัยรุ่น และให้ลูกอัณฑะ (Testis) ผลิตสาร/ฮอร์โมน เทสทอสเทอโรน (Testosterone) ในหนุ่มวัยรุ่น

เมื่อฮอร์โมนเพศเหล่านี้ เพิ่มขึ้นถึงระดับหนึ่ง สมองส่วนที่เรียกว่า Hypothalamus จะสั่งการไปที่ต่อมใต้สมอง ให้ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth hormone : GH) เร่งพัฒนาการของเซลล์ร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนในแต่ละวันจะมีหลายครั้ง แต่มีปริมาณน้อยในแต่ละครั้ง และอธิบายถึงการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดในวัยรุ่น

ในความพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ (Sexual maturation) ฮอร์โมนหญิงเอสโตรเจน จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตของหน้าอก/เต้านม มดลูก (Uterus) ช่องคลอด (Vagina) ขนบริเวณหัวหน่าว (Pubic hair) และขนรักแร้ รวมทั้งการขยายสะโพก ส่วนฮอร์โมนชายเทสทอสเทอโรน ก็จะกระตุ้นให้เกิดการเติบโตขององคชาต (Penis) และต่อมลูกหมาก (Prostate) เสียงที่เปลี่ยนไป ตลอดจนพัฒนาการใบหน้า และขนตามร่างกาย

แม้ว่า GH จะเป็นสาเหตุหลักของการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดของหนุ่มวัยรุ่น เทสทอสเทอโรน ก็มีผลกระทบอย่างเอกเทศในการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อ (Muscle) หัวไหล่ที่กว้างขึ้น และการขยายตัวของกระดูกสันหลัง และนี่เป็นปรากฏการณ์ ของเกณฑ์ปรกติ (Norm) ของพัฒนาการ หรือถัวเฉลี่ย เมื่อการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในวัยรุ่น แต่ก็มีวัยรุ่นจำนวนไม่น้อย ที่มีช่วงเวลาของความพร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล

ดูเหมือนว่า การเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดจะเกิดขึ้นในหนุ่มวัยรุ่นมากกว่าสาววัยรุ่น เนื่องจากเทสโตสเตอโรน เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกในวิถีทางที่เอสโตรเจนมิได้เสริมสร้าง นอกจากนี้ ยังมีการหลั่งสาร/ฮอร์โมน แอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งเป็นสาเหตุรองของการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดของกล้ามเนื้อและกระดูกทั้งในหนุ่มวัยรุ่นและสาววัยรุ่น

ในปัจจุบัน ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่า แล้วอะไรเป็นสาเหตุให้ต่อมใต้สมอง กระตุ้นให้ต่อมไร้ท่อทำงาน และกำหนด (Precipitate) การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของวัยรุ่น แม้เราจะได้เรียนรู้มากมายเกี่ยวกับวิธีการที่ฮอร์โมนมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น แต่เรายังไม่ทราบถึงเหตุการณ์ของช่วงเวลาและการควบคุมอิทธิพลของฮอร์โมน

แหล่งข้อมูล

1. Shaffer David R. and Katherine Kipp (2010). Developmental Psychology : Childhood & Adolescence (8th Ed). Belmont, CA: Wadsworth-Cengage Learning.
2. Neural development - http://en.wikipedia.org/wiki/Neural_development [2014, August 19].