จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 99 : เส้นทางสายตาสู่สมอง (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

มีความจริงอยู่ไม่น้อยในคำกล่าวแต่ดั้งเดิมที่ว่า “การเห็นคือการเชื่อ” (Seeing is believing) แต่ผู้คนส่วนมากไม่ทราบ (Realize) ว่า “การเห็น” เกิดขึ้นในสมอง มิใช่ที่ดวงตา เราสามารถ “แกะรอย” (Trace) เส้นทางที่คลื่นแสง (Light wave) เข้าสู่ดวงตา ซึ่งจะไปรวมแสง (Focus) ณ จอประสาทตา (Retina) เพื่อเปลี่ยนเป็นแรงกระตุ้น (Impulse)

จากนั้น ก็จะออกจากดวงตา ณ ประสาทสายตา (Optic nerve) จนเข้าถึงจุดหมายปลายทาง (Destination) ตรงสมองกลีบท้ายทอย (Occipital lobe) ในด้านหลังของสมอง ณ จุดนั้น สมองกลีบท้ายทอย จะเปลี่ยนคลื่นแสงให้กลายเป็น “ดาวรุ่ง” (Rock star) ที่มีสีสันงดงาม (Colorful)

สำหรับเส้นทางสายตา (Visual pathway) สู่สมองมีดังนี้ - แรงกระตุ้น (Impulse) ประสาท ดำเนิน (Flow) ผ่านประสาทสายตา (Optic nerve) เมื่อมันออกจากด้านหลังของดวงตา จุดออกนี้ สร้าง “จุดบอด” (Blind spot) ที่ตามปรกติ เราจะมองไม่เห็น เพราะดวงตาของเราเคลื่อนไหวต่อเนื่อง และปกคลุมอาณาบริเวณที่อาจอยู่ใน “จุดบอด”

มีบางส่วนของประสาทตาอยู่คร่อม (Cross over) เนื้อสมองสีเทาที่ฐานของสมองใหญ่ (Thalamus) และเป็นที่พัก (Stop) ซึ่งเริ่มประมวล [ข้อมูล] ในเบื้องต้น เนื้อสมองดังกล่าวส่งแรงกระตุ้นต่อ (Relay) ไปยังด้านหลังของสมองกลีบท้ายทอยทั้งซีก (Hemisphere) ซ้ายและซีกขวา

ด้านหลังๆ ของสมองกลีบท้ายทอย เป็นที่อยู่ของเปลือกสมองหลักส่วนการเห็น (Primary visual cortex) ซึ่ง “แปลงโฉม” (Transform) แรงกระตุ้นประสาทให้เป็นการรู้สึก (Sensation) มองเห็นแบบง่าย อาทิ เนื้อผิว (Texture) เส้น (Line) และสี (Color) ณ จุดนี้ เราจะรู้สึกมองเห็นอย่างหยาบ มิใช่รูปร่างอย่างสมบูรณ์ (Complete figure)

นักวิจัยประมาณการกันว่า ประมาณ 25% ของเปลือกสมองทั้งหมด มีไว้สำหรับประมวลข้อมูลของการเห็น ซึ่งเป็นอาณาบริเวณที่มากกว่าข้อมูลป้อนเข้า (Input) จากประสาทสัมผัสอื่นๆ เปลือกสมองการเห็นประกอบด้วยเซลล์จำนวนมากมายที่แตกต่างกัน อันสนองตอบต่อการกระตุ้น (Stimulation) การเห็นที่มีหลากหลายประเภท

เซลล์ที่หลากหลายในเปลือกสมองหลักส่วนการเห็น สนองตอบต่อสิ่งเร้าเฉพาะอย่างเท่านั้น ตัวอย่างเช่น เซลล์ส่วนนอก (Cortical cell) สนองตอบต่อเส้นของความกว้างเฉพาะ (Particular) เส้นของมุมเฉพาะ หรือเส้นของทิศทางเฉพาะ ซึ่ง “แปลงโฉม” สิ่งเร้าหลากหลายให้เป็นการรู้สึกมองเห็นอย่างง่าย อาทิ เงา (Shadow) เส้น เนื้อผิว หรือมุม แต่เพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่เห็น แรงกระตุ้นประสาท จะต้องถูกส่งจากเปลือกสมองหลักส่วนการเห็น ไปยังอาณาบริเวณใกล้เคียงที่สัมพันธ์กับการเห็น

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Human eye - https://en.wikipedia.org/wiki/Human_eye [2016, March 4].
  3. Visual system - https://en.wikipedia.org/wiki/Visual_system [2016, March 4].