จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 97 : จอประสาทตา

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เซลล์ชั้นหลัง (Back layer) ของจอประสาทตา (Retina) ประกอบด้วย 2 ชนิดของ “ตัวรับแสง” (Photo-receptor) โดยที่ชนิดหนึ่ง มีรูปทรงคล้าย “ท่อนไม้” (Rod) อยู่ผิวนอก (Periphery) ของจอประสาทตา มีจำนวน 60 ล้านท่อน ส่วนอีกชนิดหนึ่ง มีรูปทรงคล้าย “กรวย” (Cone) อยู่ ณ ศูนย์กลาง(Center) ของจอประสาทตา ในอาณาบริเวณที่ชื่อ “โฟเวีย” (Fovea) มีจำนวน 3 ล้านชิ้น

รูปทรง “ท่อนไม้” เป็น “ตัวรับแสง” ที่ประกอบด้วยสารเคมีชนิดเดี่ยวชื่อ “โรดอปซิน” (Rhodopsin) ซึ่งได้รับการกระตุ้น (Activated) โดยปริมาณเล็กน้อยของแสง เนื่องจากรูปทรง “ท่อนไม้” มีความอ่อนไหวต่อแสงมากๆ (Extremely light sensitive) ทำให้เราสามารถเห็น [วัตถุ] ได้ในแสงสลัว (Dim) แต่เห็นได้เฉพาะร่มสี (Shade) ดำ ขาว และเทา เท่านั้น

แต่ในการเห็นสีจริงได้ เราจำเป็นต้องมี รูปทรง “กรวย” ซึ่งเป็น “ตัวรับแสง” ที่ประกอบด้วยสารเคมี 3 ชนิด ชื่อ “ออปซิน” (Opsin) โดยได้รับการกระตุ้นในแสงสว่างไสว (Bright) ทำให้เราสามารถมองเห็นสี [ของวัตถุ] รูปทรง “กรวย” แตกต่างจากรูปทรง “ท่อนไม้” ตรงที่แต่ละ (Individual) กรวยถูกเชื่อมโยง (Wired) ไปยังเซลล์ข้างเคียง (Neighboring cell)

ระบบ [เชื่อมโยง] หนึ่งต่อหนึ่ง (One-on-one system) ของการส่งต่อข้อมูล (Relay information) นี้ ทำให้เรามองเห็น [วัตถุ] ในรายละเอียด (Fine detail) และนำไปสู่กระบวนการเปลี่ยนรูปพลังงาน (Transduction) ซึ่งเริ่มต้นเมื่อสารเคมมีในรูปทรง “ท่อนไม้” และรูปทรง “กรวย” ชำรุด (Break down) หลังจากดูดซึม (Absorb) คลื่นแสง (Light wave) แล้ว

การชำรุดของสารเคมีนี้ สร้าง (Generate) พลังไฟฟ้าเล็กน้อย (Tiny electric force) ขึ้น ซึ่ง (หากมีปริมาณมากพอ) ก็จะกระตุก (Trigger) แรงกระตุ้นประสาท (Nerve impulse) ต่อเซลล์ปมประสาท (Ganglion) ที่อยู่ข้างเคียง จนกว่ากระบวนการเปลี่ยนรูปพลังงานจะสิ้นสุดลง (Complete)

แรงกระตุ้นประสาทที่ถูกสร้างในเซลล์ปมประสาท จะดำเนินออก (Exit) ทางด้านหลังของดวงตา ผ่านประสาทสายตา (Optic nerve) ซึ่งนำแรงกระตุ้นไปสู่สมอง จุดที่ประสาทสายตาดำเนินออกจากดวงตา ไม่มี “ตัวรับแสง” และเรียกว่า“จุดบอด” (Blind spot) ตามปรกติ เราจะไม่สังเกตเห็น “จุดบอด” เนื่องจากดวงตาของเราเคลื่อนไหวอยู่อย่างต่อเนื่อง (Continually moving)

สิ่งที่น่าแปลกใจเกี่ยวกับดวงตาก็คือ อันที่จริงแล้ว มันไม่ “เห็น” มันเป็นเพียงคอมพิวเตอร์ทันสมัย (Sophisticated) สำหรับการเปลี่ยนรูปพลังงาน กล่าวคือ สำหรับเปลี่ยนคลื่นแสงให้กลายเป็นแรงกระตุ้น เท่านั้น ดังนั้น เพื่อให้เรา “เห็นบางอย่าง” แรงกระตุ้นจำเป็นต้องเข้าถึง (Reach) อาณาบริเวณของการเห็น (Visual) ในสมอง

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Human eye - https://en.wikipedia.org/wiki/Human_eye [2016, February 18].
  3. Retina - 2. Retina - [2016, February 25].