จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 97 : รูปทรงลูกตาและการผ่าตัดตา

จิตวิทยาผู้ใหญ่

พวกเราบางคนเกิดมาพร้อมด้วยรูปทรงสมบูรณ์ของลูกตา (Perfectly-shaped eyeball) ส่งผลให้เกิดการมองเห็น (Vision) ที่สมบูรณ์ แต่บางคนก็เกิดมาพร้อมด้วยลูกตาที่ยาวไปนิด หรือสั้นไปหน่อย ส่งผลให้เกิดปัญหาสามัญ 2 ประเภท คือ สายตาสั้น (Near-sightedness) และสายตายาว (Far-sightedness)

ในสายตาปรกติ (Normal vision) รูปทรงของลูกตามักถูกกำหนดโดยคำสั่งพันธุกรรม (Genetic instruction) หากลูกตาของผู้ใด มีรูปทรงที่ทำให้วัตถุมีจุดรวมแสง (Focus) อันสมบูรณ์แบบ บนด้านหลังของจอประสาทตา (Retina) แล้ววัตถุที่อยู่ใกล้และไกล จะปรากฏชัด (Clear) และคม (Sharp) ผู้นั้นจะมีสายตาที่ดีมาก (ที่เรียกกันว่า 20/20)

หากลูกตาของผู้ใด มีรูปทรงที่ยาวเกินไปอันสืบทอด (Inherit) มาตั้งแต่กำเนิด จะมีแนวโน้มของสายตาสั้น (Myopia) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกตาที่ยาวเกินไปนั้น ทำให้วัตถุมีจุดรวมแสงตกที่หน้า (Front) จอประสาทตา (Retina) ในกรณีเช่นนี้ จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ได้ชัดเจน แต่วัตถุที่ไกลจะปรากฏพร่ามัว (Blur)

หากลูกตาของผู้ใด มีรูปทรงที่สั้นเกินไปอันสืบทอด (Inherit) มาตั้งแต่กำเนิด จะมีแนวโน้มของสายตายาว (Presbyopia) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกตาที่สั้นเกินไปนั้น ทำให้วัตถุมีจุดรวมแสงตกที่หลัง (Behind) จอประสาทตา ในกรณีเช่นนี้ จะมองเห็นวัตถุที่อยู่ไกลได้ชัดเจน แต่วัตถุที่ใกล้จะปรากฏพร่ามัว

วิธีรักษาทั่วไป (Common treatment) ทั้ง 2 กรณี จะเกี่ยวข้องกับการแก้ไขที่แก้วตา (Corrective lens) หรือการผ่าตัดตา (Eye surgery) แต่ในปัจจุบัน วิธีรักษายอดนิยมและประสบผลสำเร็จในการแก้ไขสายตาสั้น เรียกว่า “เลสิค” (LASIK) ซึ่งย่อมาจาก คำว่า “Laser In-Situ Keratomileusis”

ในหัตถการ (Procedure) นี้ พื้นผิวของดวงตาจะถูกพับกลับ (Folded back) แล้วใช้แสงเลเซอร์ (Laser) ยิงที่จอประสาทตา เพื่อ “เปลี่ยนรูปทรง” (Re-shape) ให้คลื่นแสงหักเห (Bend) และรวมแสงอย่างถูกต้อง ณ จอประสาทตา ซึ่งอยู่ที่ (Located) ส่วนหลังของดวงตา อันประกอบด้วย “ตัวรับแสง” (Photo-receptor)

จอประสาทตา มีเซลล์อยู่ 3 ชั้น (Layer) โดยที่เซลล์ชั้นกลาง ประกอบด้วยปมประสาท (Ganglion) ที่ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแรงกระตุ้น (Impulse) ที่เคลื่อนย้ายไปยังเส้นใยประสาท (Nerve fiber) อันเป็นส่วนประกอบของเซลล์ชั้นหน้า เพื่อนำพาแรงกระตุ้น ไปสู่สมองในที่สุด ส่วนเซลล์ชั้นหลังประกอบด้วย 2 ชนิดของ “ตัวรับแสง” ซึ่งเริ่มต้นกระบวนการเปลี่ยนรูปพลังงาน (Transduction) โดยแปลงคลื่นแสง (Light wave) เป็นสัญญาณไฟฟ้า (Electrical signal)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Human eye - https://en.wikipedia.org/wiki/Human_eye [2016, February 18].
  3. Eye surgery - https://en.wikipedia.org/wiki/Eye_surgery [2016, February 18].