จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 96 : โครงสร้างและหน้าที่ของตา (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

6. แก้วตา (Lens) – หลังจากที่คลื่นแสงผ่านกระจกตา (Cornea) และลูกตา (Pupil) มันจะไปถึงแก้วตา แก้วตาเป็นโครงสร้างโปร่งแสง (Transparent) ในรูปวงรี (Oval) ที่พื้นผิวส่วนโค้งจะหักเห (Bend) และรวมจุด (Focus) คลื่นแสง ให้กลายเป็นลำแสงที่แคบลง แก้วตานี้อยู่ติดกับ (Attached to) กล้ามเนื้อ (Muscle) ที่ปรับความโค้งของแก้วตา ซึ่งช่วยปรับจุดรวมแสงอีกทอดหนึ่ง

เพื่อให้ตาของเราเห็นวัตถุที่อยู่ไกล (Distant) คลื่นแสงจำเป็นต้องได้รับการหักเห (หรือรวมแสง) ที่น้อยลง ดังนั้นกล้ามเนื้อก็จะยืด (Stretch) แก้วตาออกโดยอัตโนมัติ (Automatically) เพื่อให้พื้นผิวของมันมีความโค้งน้อยลง ทำให้เห็นวัตถุที่อยู่ใกล้ (Near) คลื่นแสงจำเป็นต้องหักเห (หรือรวมแสง) ที่มากขึ้น ดังนั้น กล้ามเนื้อก็จะผ่อนคลาย (Relax) และยอมให้พื้นผิวของแก้วตา มีความโค้งมากขึ้น เป็นสาเหตุให้จุดรวมคลื่นแสง กลายเป็นลำแสงวงแคบที่ต้องฉายอย่างแม่นยำ (Projected precisely) ไปยังอาณาบริเวณ ที่อยู่หลังๆ ของดวงตา ที่เรียกว่า “จอประสาทตา” (Retina)

7. จอประสาทตา – แม้ว่าคลื่นแสงจะถูกหักเหและรวมแสง การเปลี่ยนรูปพลังงาน (Transduction) ยังไม่เกิดขึ้น แต่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงเมื่อคลื่นแสงไปถึงจอประสาทตา ซึ่งอยู่ ณ อาณาบริเวณหลังๆ ของลูกตา (Eyeball) มีลักษณะบางเหมือนแผ่นฟิล์มที่ประกอบด้วยเซลล์ที่อ่อนไหวสุด (Extremely sensitive) ต่อแสง เรียกว่า “ตัวรับแสง” (Photo-receptor) ซึ่งเริ่มต้นกระบวนการของการเปลี่ยนรูปพลังงาน โดยการดูดซึม (Absorb) คลื่นแสง

สำหรับบางคน คลื่นแสงไม่สามารถรวมแสง ณ จอประสาทตาได้อย่างแม่นยำ เนื่องจากปัญหาเรื่องรูปทรง (Shape) ของลูกตา (Eyeball) นอกจากนี้ กล้องถ่ายรูปอิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋ว (Miniaturized) บางชนิด สามารถบันทึกภาพวีดิทัศน์ (Video) ได้ละเอียดลอออย่างเหลือเชื่อ (Amazing)

แต่ต้องถือว่ายังโบราณอยู่ (Primitive) เมื่อเปรียบเทียบกับจอประสาทตา ซึ่งเป็นเซลล์ที่มองเห็นได้เมื่อผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) เท่านั้น และสามารถ “แปลงโฉม” (Transform) คลื่นแสง ให้กลายเป็นแรงกระตุ้น (Impulse) ที่นำข้อมูลอย่างละเอียด (อาทิ รูปทรง เงา [Shadow] ขนาด เนื้อผิว [Texture] และสี) ไปยังสมอง

จอประสาทตา ดูเสมือนเป็นการรวมกล้องถ่ายวีดิทัศน์และเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ซึ่งไม่เคยขาดถ่านไฟ (Battery) ในขณะที่มัน “แปลงโฉม” คลื่นเสียง ให้กลายเป็นแรงกระตุ้น อันเป็นกระบวนการเปลี่ยนรูปพลังงาน (Transduction)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Human eye - https://en.wikipedia.org/wiki/Human_eye [2016, February 11].