จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 95 : โครงสร้างและหน้าที่ของตา (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เรามองเห็นยีราฟ (Giraffe) ที่มีความสูงเกือบ 5 เมตร ได้อย่างไร? อันที่จริง ตาของเรามี 2 กระบวนการที่แยกกันอยู่ ในกระบวนการแรก ลูกตาพุ่งไปที่คลื่นแสง (Light wave) ณ อาณาบริเวณด้านหลังของลูกตา ซึ่งเป็นจุดรวมแสง (Focus) อย่างแม่นยำ (Precise)

ในกระบวนการที่ 2 อาณาบริเวณนี้ดูดซึม (Absorb) และ “แปลงโฉม” (Transform) คลื่นแสงให้เป็นแรงกระตุ้น (Impulse) การเปลี่ยนรูปพลังงาน (Transduction) เราสามารถติดตามเส้นทาง (Path) ของคลื่นแสง จากตัวยีราฟไปยังด้านหลังของลูกตา ด้วย 7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ภาพกลับหัว (Reverse) – ในด้านหลังของลูกตา ยีราฟสะท้อน (Reflect) จุดรวมแสงที่เอาหัวลงหางขึ้น (Upside down) แต่สมองสามารถกลับตัวยีราฟ (เช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ที่เราเห็น) ให้ด้านที่ถูกต้อง [หัวขึ้นหางลง] (Right side up) ตามที่มองเห็นในโลกแห่งความเป็นจริง
  2. คลื่นแสง – ปัญหาของคลื่นแสง ก็คือ หลังจากมันกระทบ (Strike) วัตถุ อาทิ ตัวยีราฟ มันจะสะท้อนกลับเป็นลำแสงวงกว้าง (Broad beam) เราจะมองไม่เห็นตัวยีราฟ เว้นแต่ตาของเราเปลี่ยนลำแสงวงกว้างของคลื่นแสง เป็นลำแสงวงแคบที่มีจุดรวมแสง ลูกตามี 2 โครงสร้าง กล่าวคือ กระจกตา (Cornea) และแก้วตา (Lens) ซึ่งนำภายไปสู่จุดรวมแสง เหมือนกล้องถ่ายรูป
  3. กระจกตา – ลำแสงวงกว้างของแสง ซึ่งสะท้อนจากยีราฟ จะผ่านกระจกตาก่อน กระจกตาเป็นสิ่งปกคลุม (Covering) ด้านหน้า (Front) ของลูกตาที่โปร่งแสง (Transparent) และเป็นทรงกลม (Rounded) เมื่อคลื่นแสงผ่านกระจกตา ผิวพื้นส่วนโค้ง (Curved surface) จะหักเห (Bend) หรือรวมแสงคลื่น ให้กลายเป็นลำแสงวงแคบ
  4. ลูกตา (Pupil) – หลังจากแสงผ่านกระจกตา คลื่นแสงจะผ่านลูกตา เป็นอันดับถัดไป ลูกตาเป็นรูเปิด (Opening) ณ ด้านหน้าของดวงตาที่ยอมให้คลื่นแสงผ่านเข้าไปด้านใน (Interior) ของดวงตา ลูกตาจะขยายใหญ่ขึ้นหรือหดเล็กลง เพราะกล้ามเนื้อ (Muscle) ที่เรียกว่า “ม่านตา” (Iris)
  5. ม่านตา – รูเปิดของลูกตาล้อมรอบ (Surround) ด้วยม่านตา ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อเป็นวงกลม (Circular) ที่ควบคุมปริมาณของแสงที่ผ่านเข้าไปในดวงตา ในที่มีแสงสลัว (Dim) ม่านตาจะผ่อนคลาย (Relax) โดยยอมให้แสงผ่านมากขึ้น ทำให้ลูกตาขยาย (Dilate) แต่ในที่มีสว่างไสว (Bright) ม่านตาจะหดตัว ( Constrict) โดยยอมให้แสงผ่านน้อยลง ทำให้ลูกตาหดตัวลง กล้ามเนื้อม่านตาประกอบด้วยเม็ดสี (Pigment) ที่ทำให้ลูกตามีสีลักษณะเฉพาะ (Characteristic color)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Human eye - https://en.wikipedia.org/wiki/Human_eye [2016, February 4].