จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 89 : ภาวะสมองแยก (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ไมเคิล แกสซานิก้า (Michael Gazzanica) ซึ่งเป็นนักประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuro-scientist) ผู้ได้ศึกษาผู้ป่วยที่สมองถูกแบ่งแยก (Split brain) เป็นเวลากว่า 40 ปี เชื่อมั่นว่า แต่ละซีกสมองมีโปรแกรมทางจิต (Mental program) มากมายที่แตกต่างกัน อาทิ การคิด การเรียนรู้ การรู้สึก และการพูด ซึ่งทั้งหมดนี้สามารถทำงานในเวลาเดียวกัน (Simultaneously)

ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเห็นคนยิ้ม สมองของเราก็จะใช้โปรแกรมทางจิต (Mental) หลากหลาย จากแต่ลtซีกสมองในการรับ (Receive) แปรผล (Interpret) และสนองตอบ (Respond) ต่อการแสดงออกของอารมณ์ผ่านใบหน้า (Emotional facial expression) อย่างค่อนข้างง่าย (Relatively simple)

ไมเคิล แกสซานิก้า ยังมีผู้ป่วยอีกรายหนึ่งที่มีชื่อย่อว่า พี เอส (P.S.) เขาเป็นหนุ่มวัยรุ่น ซึ่งในการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่า ความเข้าใจภาษาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในสมองซีกขวา เมื่อฉายภาพ (Flash) คำว่า “เพื่อนสาว” (Girlfriend) ไปทางอาณาบริเวณการมองเห็นทางซ้ายมือ และสมองซีกขวา เขาไม่สามารถเอ่ยชื่อผู้ที่เขาหลงใหล (Crush)

อย่างไรก็ตาม เขาสามารถสะกดชื่อออกมาเป็น “ลิส” [อาลิสซาเบธ] ในการเล่นต่อคำ (Scrabble) แสดงว่า แม้ไม่สามารถเปล่งเสียงพูดในสมองซีกขวา แต่เขาก็สามารถสื่อสารผ่านการเคลื่อนไหว [บอกใบ้ (Gesture) ] ของมือข้างซ้าย

ไมเคิล แกสซานิก้า เชื่อมั่นว่า สมองและจิต (Mind) สร้างขึ้นจากระบบย่อย (Module) ที่แยกกัน (Separate) แต่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน (Inter-connected) ในการทำงานเฉพาะ (Specific function) แบบจำลองระบบย่อย (Modular model) ของเขาแสดงให้เห็นการทำงานของสมองที่คล้ายคลึงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ อันมีโปรแกรมมากมายที่ทำให้เราสามารถทำงานหลายชิ้นที่แตกต่างกัน

คนเรามีเซลล์ประสาท (Neuron) ประมาณ 100 พันล้านตัว ซึ่งเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีชีวิต (Living computer) อันทรงพลังมหาศาล (Extremely powerful) ซึ่งสามารถเพิ่มพูนทักษะเมื่อมีการใช้งาน ตัวอย่างเช่น นักวิจัยพบว่า หนูทดลองที่เป็นผู้ใหญ่ (Adult rat) เมื่อได้รับปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ทางกายภาพและทางสังคม หรือได้ “ผ่าน” ประสบการณ์การเรียนรู้ (Learning experience) จะเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาทใหม่ถึง 2 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ที่ถูกกักขังอยู่ในกรง

ผลการทดลองนี้ ส่อให้เห็นว่า สมองคนที่เป็นผู้ใหญ่อาจเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาทใหม่ได้ หากได้รับ (Exposed) ประสบการณ์ใหม่ และสนับสนุนคำพูดที่ว่า “ถ้าไม่ใช้ ก็จะสูญเสียไป” (Use it or lose it) [หรือทฤษฎีไม่ใช้ (Theory of Disuse) ซึ่งกล่าวถึง ความสัมพันธ์ของการสนองตอบ (Response) และการเรียนรู้ (Learning) จะเสื่อมถอยลงจนอันตรธานไป หากมิได้ใช้งาน]

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Split brain - https://th.wikipedia.org/wiki/Split-brain [2016, December 17].
  3. Michael Gazzaniga - https://en.wikipedia.org/wiki/Michael_Gazzaniga [2016, December 24].