จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 88 : ภาวะสมองแยก (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

สมองซีกขวา (Right hemisphere) มักจะพูดไม่ได้หรือเป็นใบ้ (Mute) แต่ก็มีความสามารถเหมือนเด็ก (Childlike) ในการอ่าน เขียน สะกด และเข้าใจคำพูด (Speech) ตัวอย่างเช่น สามารถเข้าใจประโยคง่ายๆ ที่ได้ยิน และอ่านคำง่ายๆ แต่สมองซีกนี้เก่งในเรื่องการแก้โจทย์เกี่ยวกับเทศะหรือสถานที่ (Space) อาทิ การจัดบล็อค (Block) เพื่อให้สอดคล้องกับการออกแบบทางเรขาคณิต (Geometric design) โดยเฉพาะด้วยมือซ้าย ซึ่งควบคุมโดยซีกสมองฝั่งตรงข้าม

สมองซีกขวา ยังดูเหมือนจะประมวลข้อมูลโดยรวมชิ้นส่วน (Parts) ที่ประกอบขึ้นเป็นองค์รวม (Whole) ที่มีความหมาย ด้วยเหตุนี้ สมองซีกขวา¬จะเก่งในเรื่องการจดจำ (Recognize) และค้นหา (Identify) ใบหน้าในทั้งใบ นอกจากนี้ยังเก่งในเรื่องการแสดงออก¬ของอารมณ์ทางใบหน้า (Emotional facial expression)

หลังจากที่เปรียบเทียบการทำงานของสมองซีกซ้ายและขวาแล้ว เราจะเห็นว่า แต่ละซีกสมองมีทักษะที่เฉพาะ และเก่งในการทำงานแต่ละประเภท ความแตกต่างเหล่านี้ นำมาสู่คำถามยอดนิยม (Popular) นั่นคือ เราถนัดใช้สมองซีกซ้าย หรือซีกขวา? แต่สื่อสารมวลชน (Press) มักกล่าวเกินความจริงความคิด (Idea) ที่ว่า เราถนัดใช้สมองซีกซ้าย เมื่อใช้เหตุผล (Rational) มีตรรกะ (Logic) และคำนึงถึงเหมาะสม (Reasonable) ส่วนเราถนัดใช้สมองซีกขวา เมื่อมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative) ใช้ลางสังหรณ์ (Intuitive) และมีอารมณ์ศิลปิน (Artistic)

เจอร์รี่ เลวี่ (Jerre Levy) นักจิตวิทยาและนักวิจัยในเรื่องสมอง เธอได้อุทิศให้กับการศึกษาปฏิสัมพันธ์ (Interact) ของซีกสมอง ในงานเชิงทัศนา (Visual-oriented) กับ งานเชิงภาษา (Language-oriented) ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแยกสมอง เธอพบประจักษ์หลักฐาน (Evidence) ว่า สมองซีกซ้ายเก่งในการใช้เหตุผลทางตรง (Linear reasoning) [ตัวอย่าเช่น ถ้า a = b และ b = c ดังนั้น a = c] ในขณะที่สมองซีกขวาจะเกี่ยวข้องกับการใช้เหตุผลในองค์รวม (Holistic reasoning) [ตัวอย่างเช่น ความคิดของคนเราแผ่กระจายไปทุกทิศทาง ดังนั้นจึงมีหลากหลายวิธีในการแก้ปัญหาเดียวกัน]

เธอยังพบว่าความแตกต่าง (Distinction) ระหว่างซีกสมอง เป็นการด่วนสรุปที่ง่ายเกินไป เธอมั่นเชื่อว่า เราใช้ทั้ง 2 ซีกอยู่ตลอดเวลา (Constantly) และสัมพันธ์กันแทนที่จะทำงานเป็นเอกเทศแยกออกจากกัน ตัวอย่างเช่น เมื่อเราอ่านนวนิยาย (Novel) เราคงใช้โปรแกรมในสมองซีกซ้ายทำความเข้าใจกับภาษาเขียน แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ใช้โปรแกรมในสมองซีกขวาติดตาม (Keep track) เรื่องราว ชื่นชอบในเนื้อหา (Content) ตามอารมณ์ (อาทิ ขบขัน [Humor]) และแปรผล (Interpret) ภาพประกอบ (Illustration) แม้ว่าแต่ละซีกสมองอาจทำงานตามลำพังในบางครั้ง แต่ก็ปัน (Share) ข้อมูลกัน โดยส่งข้อมูลกลับไป-กลับมา ผ่านมัดเส้นใยประสาทใต้เปลือกสมอง (Corpus collosum)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Split brain - https://th.wikipedia.org/wiki/Split-brain [2016, December 17].
  3. Jerre Levy - https://en.wikipedia.org/wiki/Jerre_Levy [2016, December 17].