จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 86 : ภาวะสมองแยก (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

การผ่าตัดแยกสมอง (Split-brain operation) เกี่ยวข้องกับการผ่าตัดมัดเส้นใย (Band of fibers) ประสาทใต้เปลือกสมอง (Corpus collosum) ซึ่งเชื่อมโยงสมองซีก (Hemisphere) ซ้ายและขวา และมีใยประสาท (Nerve fiber) 200 ล้านเส้น ที่ส่งข้อมูลไปและกลับ (Back and forth) ระหว่างซีกสมองทั้งสอง

การผ่าตัดแยกสมอง ไม่เพียงแต่ขัดขวาง (Disrupt) เส้นทาง (Pathway) สำคัญ ระหว่างซีกสมองทั้งสอง แต่ยังปล่อยให้แต่ละซีกสมองทำงานอย่างเอกเทศ (Function independently) ในการผ่าตัดแยกสมองหลายครั้ง การแยก (Sever) มัดเส้นใยประสาทใต้เปลือกสมอง ยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายของอาการชัก (Seizure) จากซีกสมองหนึ่ง ไปยังอีกซีกสมองหนึ่ง จึงสามารถลดความถี่ (Frequency) และการเกิด (Occurrence) อาการชักได้

ในปี พ.ศ. 2504 นักวิจัยชื่อไมเคิล แกสซานิก้า (Michael Gazzanica) และทีมงาน (Colleague) ได้ทดสอบการผ่าตัดแยกสมอง เป็นครั้งแรกในโลก กับผู้ป่วยที่มีชื่อย่อว่า ดับบลิว เจ (W.J.) ทีมนักวิจัยเริ่มฉายภาพ (Flash) บนจอ ด้วยสี ตัวอักษร และรูปภาพของวัตถุ เพื่อให้สิ่งเร้าเหล่านี้ถูกส่งไปยังสมองซีกซ้ายของผู้ป่วย ซึ่งทำให้ค้นพบว่า เขาประสบความลำบากในการเอ่ยชื่อวัตถุดังกล่าว [แต่ก็เอ่ยได้]

หลังจากนั้น ทีมนักวิจัย ฉายภาพสิ่งเร้าเดียวกันไปยังสมองซีกขวาของผู้ป่วย ซึ่งทำให้ค้นพบว่า เขาเหมือนคนตาบอด กล่าวคือมองไม่เห็นอะไรเลย ทีมนักวิจัยอ้างถึงการค้นพบนี้ว่าเป็น “หนึ่งในชั่วขณะของชีวิตที่มิอาจลืมได้” (One of those unforgettable moments in life) แต่เป็นไปได้หรือที่สมองซีกซ้าย “พูดได้” แต่สมองซีกขวา “พูดไม่ได้”?

เพื่อกำหนด สมองแต่ละซีกสามารถ (และไม่สามารถ) ทำอะไรได้? เราคงเรียนรู้ได้จากการที่ทีมนักวิจัยดังกล่าว ทดสอบวิคตอเรีย (Victoria) ผู้ป่วยที่มีอาการชักตั้งแต่เล็กจนโต ทีมนักวิจัยขอให้เธอจ้องไปที่จุดดำที่แทรกระหว่าง HE กับ ART ของคำว่า HEART กล่าวคือ HE.ART

เนื่องจากสมองของผู้ป่วยถูกแบ่งแยก ข้อมูลจากแต่ละข้างของจุดดำจะถูกส่ง ไปยังซึกสมองฝั่งตรงข้ามเท่านั้น ซึ่งหมายความว่า สมองซีกซ้ายของผู้ป่วย จะเห็นเพียง ART ส่วนสมองซีกขวาของผู้ป่วย จะเห็นเพียง HE เท่านั้น แต่เมื่อถูกถามว่า “เธอเห็นะไร?” ผู้ป่วยตอบว่า เห็นคำว่า “ART” เพราะการฉายภาพไปยังสมองซีกซ้าย ซึ่งมีความสามารถในการพูด

แม้ว่าสมองซีกขวาของผู้ป่วย เห็นคำว่า “HE” แต่พูดไม่ได้ (Mute) หมายความว่า เธอไม่สามารถพูดในสิ่งที่เห็น แต่ผู้ป่วยสามารถใช้มือซ้ายชี้ไปยังรูปถ่าย (Photo) ของผู้ชาย (HE) ซึ่งแสดงว่า สมองซีกขวาเข้าใจคำถาม และเห็นคำว่า “HE”

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Split brain - https://th.wikipedia.org/wiki/Split-brain [2016, December 3].
  3. Michael Gazzaniga - https://en.wikipedia.org/wiki/Michael_Gazzaniga [2016, December 3].