จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 83 : ขนาดของสมอง (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

แซมมวล จอร์จ มอร์ตั้น (Samuel George Morton) นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ถึงแก่กรรมในปี พ.ศ. 2394 หนังสือพิมพ์นิวยอ์คไทม์ (New York Times) กล่าวยกย่องด้วยความภูมิใจ (Proudly) ว่า เขาเป็นนักปราชญ์ (Scholar) เพราะได้ใช้เวลาตลอดชีวิตของเขา ในการเก็บสะสมกระโหลกศีรษะ (Skull) ของมนุษย์จากนานาเผ่าพันธุ์

เขาต้องการกำหนดว่า เผ่าพันธุ์ไหนมีกระโหลกศีรษะขนาดใหญ่ที่สุด? ในช่วงเวลาชีวิตของเขา เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (Generally accepted) ว่า การมีสมองที่ใหญ่กว่า หมายถึงการมีเชาว์ปัญญา (Intelligence) และความสามารถภายในจิตใจ (Inner mental ability) ที่เหนือกว่า

มอร์ตั้นได้ประมาณการ (Estimate) ขนาดของสมอง โดยเทก้อนเล็กกลมของตะกั่ว (Pallet) ลงในกระโหลกศีรษะแต่ละอัน แล้วนับจำนวนลูกตะกั่วดังกล่าว การใช้กรรมวิธี (Procedure) นี้ เขาสรุปผลด้วยการเรียงลำดับ (Ranking) ขนาดของสมองจากเผ่าพันธุ์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ใหญ่สุดจนถึงเล็กสุด ดังนี้

  1. ฝรั่งผิวขาว (Caucasian)
  2. ชาวมองโกลผิวเหลือง (Mongolian)
  3. ชาวอินเดียนแดงผิวน้ำตาล (American Indian)
  4. ชาวนิโกรผิวดำ (Negro)

ในการเรียงลำดับตามขนาดของสมองดังกล่าว มอร์ตั้นเชื่อว่า มีความสัมพันธ์ (ลดหลั่นกันไป) กับทักษะพฤติกรรม และการรับรู้

อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2423 สตีเฟ่น เจย์ โกลด์ (Stephen Jay Gould) นักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านทฤษฎีวิวิฒนาการของมนุษย์ (Evolutionary) ได้ทำการวิเคราะห์ใหม่ (Re-analysis) จากข้อมูลของมอร์ตั้นในเรื่องขนาดของกระโหลกศีรษะ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในขนาดของกระโหลกศีรษะใน 4 เผ่าพันธุ์ดังกล่าว

นอกจากนี้ โกลด์ยังสรุปว่า มอร์ตั้นมีความลำเอียงอย่างมาก (Strong bias) ว่า ฝรั่งผิวขาควรมีขนาดสมองที่ใหญ่ที่สุด ทำให้มอร์ตั้นลงความเห็นทางวิทยาศาสตร์อย่างไม่รู้ตัว (Unknowingly scientific judgment) เพื่อให้สอดคล้อง (Fit) กับความมีอคติทางเชื้อชาติ (Racial prejudice) ของทศวรรษ 1800s

ข้อผิดพลาดอันใหญ่หลวง (Major error) ของมอร์ตั้น ก็คือ เขาคัดรวม (Include) เอาเฉพาะกระโหลกศีรษะที่สอดคล้อง (Math) กับความคาดหวังส่วนตัวอย่างมีความลำเอียง และคัดออก (Omit) กระโหลกศีรษะที่ไม่รองรับสนับสนุนในสิ่งที่เขาเชื่อถือ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sex differences in humans - https://en.wikipedia.org/wiki/Sex_differences_in_humans [2016, November 5].