จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 82 : ความแตกต่างทางเพศ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

นักวิจัยเริ่มค้นหาความแตกต่างทางเพศ (Sex difference) ในการทำงานของสมอง โดยฉายภาพ (Scan) ที่เรียกกันว่า PET (= Position Emission Tomography) ในขณะที่ผู้เข้ารับการทดลอง (Subject) กำลังแก้โจทย์ที่ต้องอาศัยความสามารถในการหมุนเป้าหมาย (Rotate the target) ที่เกิดขึ้นในใจ

สำหรับสมองผู้ชาย ผลการฉายภาพระหว่างแก้โจทย์เป้าหมุน แสดงกิจกรรมสูงสุดของเซลล์สมอง เกิดขึ้นที่บริเวณขมับที่มีหนังหุ้มกระโลกศีรษะ (Parietal tempura) นักวิจัยสรุปว่า การแก้โจทย์เป้าหมุน แสดงความแตกต่างทางเพศอย่างมีนัยสำคัญ ในมิติ (Term) ของบริเวณสมองที่ได้รับการกระตุ้น (Activated) และความแตกต่างทางสมอง อาจเป็นพื้นฐานของความแตกต่างทางเพศ เวลาปฏิบัติงาน (Performance)

การวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่ใช้ PET ฉายภาพ แล้วพบสิ่งที่น่าสนใจว่า ในการออกจาก (Escape) เขาวงกต (Maze) ในภาพเสมือน 3 มิติ (3-dimensional virtual-reality) ผู้ชายหลบหนีได้เร็วกว่าอย่างมีนัยสำคัญ (ถัวเฉลี่ย 2 นาที กับ 22 วินาที) เมื่อเปรียบเทียบกับผู้หญิง (ถัวเฉลี่ย 3 นาที กับ 16 วินาที)

นอกจากนี้ ผู้ชายยังใช้ทั้ง 2 ด้านที่อยูในสมองกลีบขมับ (Hippocampus) เพื่อเก็บข้อมูล (Save data) เข้าไปในคลังถาวร (Permanent storage) ในขณะที่ผู้หญิงใช้เพียงด้านขวาที่อยูในสมองกลีบขมับเท่านั้นนักวิจัยสรุปว่า ความแตกต่างทางสมองอาจอธิบายได้ว่า ทำไมผู้ชายจึงเก่งกว่า ในการค้นหาสถานที่เฉพาะแห่งในตัวเมืองเข้าไปเป็นครั้งแรก

นอกจากความแตกต่างในงานที่รับรู้ (Cognitive task) นักวิจัยยังค้นพบความแตกต่างทางเพศ ในงานที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ (Emotional task) รายงานผลการวิจัยอย่างสม่ำเสมอ พบว่าผู้หญิงอ่อนไหว (Sensitive) วิตกกังวล (Concerned) และฟูมฟัก (Nurturing) มากกว่าผู้ชาย

ดังนั้น อาจเป็นไปได้ว่า กระบวนการประมวล (Process) ข้อมูลทางอารมณ์ (Emotional information) ของผู้หญิง อาจแตกต่างจากผู้ชาย นักวิจัยฉายภาพ PET ในขณะที่ผู้เข้ารับการทดลองกำลังถูกชักนำ (Induced) ให้เกิดความอ่อนไหวในความรู้สึก ผลปรากฏว่า ผู้หญิงใช้โครงสร้างลิมบิค (Limbic structure) ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึกมากกว่าผู้ชาย

นักวิจัยจึงคาดเดา (Speculate) ว่า ความแตกต่างทางเพศ ในสมองอาจเป็นพื้นฐานหลัก (Underline) ของพฤติกรรมที่อ่อนไหวตามความรู้สึกระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง แต่นักวิจัยก็เตือนมิให้ใช้ความแตกต่างดังกล่าว เป็นพื้นฐานในการส่งเสริมการเลือกปฏิบัติ (Discriminatory) ระหว่างผู้ชายกับผู้หญิง หรือไป “เข้าทาง” นักการเมืองที่มีวาระแอบแฝง (Hidden agenda)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sex differences in humans - https://en.wikipedia.org/wiki/Sex_differences_in_humans [2016, November 5].