จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 80 : ระบบต่อมไร้ท่อ (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ไทรอยด์ (Thyroid) เป็นต่อมที่อยู่ในลำคอ ควบคุมการสันดาป [การเปลี่ยนแปลงทางเคมี และฟิสิกส์ทั้งหมด] ที่เกิดขึ้นกับสารอาหารภายในเซลล์และเนื้อเยื่ออวัยวะของร่างกายสิ่งมีชีวิต ผ่านการคัดหลั่ง (Secretion) ของฮอร์โมน

ความผิดปรกติเกิดขึ้นเมื่อฮอร์โมนบกพร่องระหว่างพัฒนาการ อันนำไปสู่การหยุดยั้งการเจริญเติบโต (Stunted growth) และปัญญาอ่อน (Mental retardation) และการคัดหลั่งที่น้อยเกินไป (Under-secretion) ระหว่างพัฒนาการของผู้ใหญ่ (Adulthood) อันนำไปสู่การลดลงในแรงจูงใจ ส่วนการคัดหลั่งที่มากเกินไป ส่งผลให้การสันดาปที่สูง น้ำหนักลด และกระวนกระวายใจ (Nervousness)

ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นส่วนที่อยู่ภายนอก (Cortex) จะคัดหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมความสมดุลระหว่างน้ำตาลกับเกลือ และช่วยให้ร่างกายสามารถต่อต้านความเครียด (Stress) แล้วยังรับผิดชอบต่อการเจริญเติบโตของขนในที่ลับ (Pubic hair) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะรองทางเพศ (Secondary sexual characteristics) อาทิ ขนบนใบหน้า และตามร่างกาย

ส่วนที่อยู่ข้างใน (Medulla) จะคัดหลั่งฮอร์โมน 2 ตัวที่เร้า (Arouse) ร่างกาย ในการรับมือกับความเครียด และสถานการณ์ฉุกเฉิน อันได้แก่ ตัวที่ทำให้ตื่นเต้น (Adrenaline) กับตัวที่ทำให้สงบ (Noradrenaline) ความผิดปรกติเกิดขึ้นเมื่อปราศจากฮอร์โมนเปลือกนอก ซึ่งเป็นการสนองตอบของร่างกาย ไม่สามารถรับมือกับความเครียด

ต่อมเพศ (Gonad) ในผู้หญิง จะมีรังไข่ (Ovary) ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมพัฒนการทางเพศ การตกไข่ (Ovulation) และการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ ต่อมเพศในผู้ชาย จะมีลูกอัณฑะ (Testis) ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมพัฒนการทางเพศ การผลิตเชื้ออสุจิ (Sperm) และการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ เช่นกัน

ความผิดปรกติเกิดขึ้นเมื่อปราศจากฮอรโมนเพศ ในวัยแรกรุ่น ส่งผลให้เกิดลักษณะเฉพาะรองทางเพศ อาทิ กล้ามเนื้อ (Muscle) ในผู้ชาย และหน้าอก (Breast) ในผู้หญิง

ในภาพรวม ต่อมไร้ท่อ เป็นต่อมในระบบไร้ท่อ (Endocrine system) ที่คัดหลั่งฮอร์โมน ตรงไปยังโลหิตแทนที่จะผ่านท่อ (Duct) เป็นส่วนหนึ่งของระบบควบคุมของร่างกาย โดยฮอร์โมนที่มันผลิตควบคุมการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย

ระดับเลือดในฮอร์โมน สะท้อนถึงความสมดุล ระหว่างการคัดหลั่ง และการถ่ายออก (Excretion) ส่วน ตับ (liver) และไต (Kidney) ก็เป็นอวัยวะสำคัญในการที่ทำให้ฮอร์โมนเสื่อมถอย (Degrade) และแยกแยะ (Breakdown) สิ่งปฏิกูลที่ขับออกทางปัสสาวะ (Urine) และอุจจาระ (Feces)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Endocrine system - https://en.wikipedia.org/wiki/Endocrine_system [2016, October 22].