จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 69: สมองกลีบข้าง (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ทุกๆ วินาทีของทุกๆ นาทีของทุกๆ วัน สมองของเราต้องคอยติดตาม (Keep track) ว่า อะไรสัมผัสผิวหนัง? มือและเท้าอยู่ที่ไหน? และเรากำลังเดินหรือวิ่ง? สิ่งเหล่านี้ดำเนินไปอย่างอัตโนมัติ และมีประสิทธิภาพ โดยสมองกลีบข้าง (Parietal lobe) ซึ่งอยู่ ณ หลังสมองกลีบหน้า

สมองกลีบข้าง มีหน้าที่ประมวลข้อมูลประสาทสัมผัส (Sensory information processing) จากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งรวมทั้งการสัมผัส การกำหนดตำแหน่งแห่งที่ของแขนขา (Limbs) อารมณ์ความรู้สึก (Temperament) และความเจ็บปวด (Pain) โดยทำหน้าที่การรับรู้ที่หลากหลาย อาทิ การใส่ใจต่อวัตถุ และการมองเห็นวัตถุ

การรู้ว่าเรากำลังสัมผัสอะไร? หรือ จะทำให้น้ำอาบ (Shower) ร้อนเย็นแค่ไหน? เกี่ยวข้องกับเปลือกสมองรับความรู้สึกทางกาย(Somatosensory cortex) ซึ่งเป็นชิ้นยาวแคบๆ (Narrow strip) ของเปลือกสมองที่อยู่ขอบ (Edge) ด้านหน้าของสมองกลีบข้าง แล้วขยายลงไปด้านข้าง

ข้างขวาของเปลือกสมองรับความรู้สึกทางกาย รับข้อมูลจากด้านซ้ายของร่างกาย และในทางกลับกัน (Vice versa) ข้างซ้ายของเปลือกสมองก็รับความรู้สึกทางกาย แต่รับข้อมูลจากด้านขวาของร่างกาย ในขณะที่ริมฝีปากจะอ่อนไหว (Sensitive) มากว่าข้อศอก เพราะการจัดระเบียบของเปลือกสมองรับความรู้สึกทางกาย

ขนาดที่แตกต่างกันของส่วนต่างๆ ของร่างกาย แสดงอาณาบริเวณของร่างกายบนเปลือกสมองรับความรู้สึกทางกาย ซึ่งจะมีความอ่อนไหวต่อสิ่งเร้าภายนอก (External stimulation) อย่างไรก็ตาม ในภาพรวม เปลือกสมองรับความรู้สึกทางกาย เป็นเพียงส่วนน้อยของสมองกลีบข้างทั้งหมด

แต่ละส่วนของร่างกายมีอาณาบริเวณของตนเองบนเปลือกสมองรับความรู้สึกทางกาย ดังนั้นหากส่วนหนึ่งของเปลือกสมองดังกล่าวถูกทำลายจนส่งผลให้เกิดความสูญเสียความรู้สึกต่อส่วนของร่างกายนั้นๆ ก็จะไม่กระทบส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

เมื่อเราเก็บมือไว้ในกระเป๋ากางเกง เราสามารถบอกได้อย่างง่ายดายว่าแตกต่างจากเหรียญหรือหมากฝรั่ง เนื่องจากสมองกลีบข้าง ย่อย (Digest) ข้อมูลเกี่ยวกับองค์ประกอบ (Texture) รูปร่าง และขนาด ของวัตถุว่าคืออะไร? อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่ด้านหลังของสมองกลีบข้างถูกทำลาย จะไม่สามารถรับรู้วัตถุโดยการสัมผัสหรือรู้สึก

ประจักษ์หลักฐานของสมองกลีบข้างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้อื่นๆ ได้มาจากการศึกษาที่ใช้การฉายภาพ PET (Position emission topography) Scan

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. 2. Parietal lobe - https://en.wikipedia.org/wiki/Parietal_lobe [2016, August 6].