จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 64 : เปลือกสมองในภาพรวม

จิตวิทยาผู้ใหญ่

มีคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับสมองอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกคุณจะออกแบบสมองอย่างไร ให้รองรับ (Hold) เซลล์ประสาท 1 ล้านล้านตัว (Trillion) แต่ขนาดเล็กไม่ใหญ่เกินแตง (Melon) และมีน้ำหนักไม่เกิน 3 ปอนด์ (1.36 กิโลกรัม)? ส่วนคำถามข้อ 2 ก็คือทำไมพื้นผิว (Surface) สมองจึงเหี่ยวย่น (Wrinkle)?

ในการตอบคำถามข้อแรก ก่อนอื่นขนาดของเซลล์ต้องเล็กจิ๋วจนเห็นได้เมื่อผ่านกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic) เท่านั้น แต่ในการตอบคำถามข้อ 2 เราต้องเข้าใจ “เปลือกสมอง” (Cortex) ว่าเป็นชั้นบางๆ ของเซลล์ที่จำเป็นต่อการปกคลุมผิวทั้งหมดของสมองส่วนหน้า (Forebrain) เซลล์ประสาทส่วนใหญ่ (Vast majority) อยู่ในเปลือกสมอง ซึ่งพับ (Fold) ตัวเอง เพื่อก่อร่าง (Form) เป็นพื้นผิวขนาดมหึมา

เพื่อให้เข้าใจประโยชน์ (Advantage) ของการมีเปลือกสมองที่เหี่ยวย่น ลองจินตนาการการใส่แผ่นกระดาษ 18 ตารางนิ้ว (45.7 ตารางเซ็นติเมตร) เข้าไปในกล่องเล็ก 3 ตารางนิ้ว (7.6 ตารางเซ็นติเมตร) ทางออกหนึ่งคือการทำให้แผ่นกระดาษยับย่น (Crumple) ก่อน จนกว่าจะสามารถบรรจุเข้าไปในกล่องเล็กเท่ากล่องไม้ขีด (Match box) ได้

ในทำนองเดียวกัน ลองจินตนาการเซลล์ประสาท (Neuron) นับพันล้าน (Billion) ตัว วางอยู่บนแผ่นกระดาษ 18 ตารางนิ้ว เมื่อแผ่นเซลล์ประสาทถูกทำให้ยับย่น เปลือกสมองจะสามารถรองรับเซลล์ประสาทในกระโหลกศีรษะขนาดกลมเล็กได้ นักวิจัยแบ่งเปลือกสมองที่เหี่ยวย่น ออกเป็น 4 อาณาบริเวณ หรือกลีบ (Lobe) ซึ่งแต่ละกลีบมีหน้าที่ (Function) ที่แตกต่างกัน

พื้นผิวที่เหี่ยวย่นของเปลือกสมองประกอบด้วยส่วนที่เป็นยอดเขา (Peak) และหุบเขา (Valley) โดยมีคุณลักษณะที่แตกต่างกัน(Distinguishing feature) เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม รูปโฉมที่ปรากฏให้เห็นของสมองอาจลวงตา (Deceiving) เพราะจำนวนเซลล์ประสาทที่มีอยู่มากมายทำหน้าที่แตกต่างกัน ตามแต่ละบริเวณหรือแต่ละกลีบ

สมองกลีบหน้า (Frontal lobe) เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ อารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรมเคลื่อนไหว (Motor) สมองกลีบข้าง (Parietal lobe) เกี่ยวข้องกับประสบการณ์การมองเห็น (Perception) และประสาทสัมผัส (Sensory) สมองกลีบขมับ (Temporal lobe) เกี่ยวข้องกับการได้ยิน และการพูด ส่วนสมองกลีบท้ายทอย (Occipital lobe) เกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลที่มองเห็นได้ (Processing visual information)

โครงสร้างสมองของมนุษย์ที่แตกต่างจากสัตว์อย่างเห็นได้ชัด คือเปลือกสมองที่พัฒนาเต็มที่แล้ว (Well-developed) ทำให้มนุษย์สามารถอ่าน เข้าใจ พูดถึง และจดจำแนวความคิด (Concept) ได้ [แต่สัตว์ทำไม่ได้]

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Cerebral cortex - https://en.wikipedia.org/wiki/Cerebral_cortex [2016, July 2].