จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 58 : ยาเสพติดกับวัฒนธรรม (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เคียวรารี (Curare) ไม่สามารถเข้าสู่สมองได้ง่ายเพราะเลือดในร่างกายต้องผ่านระบบกรอง (Filter) ก่อนที่จะสามารถเข้าสู่สมอง ระบบกรองนี้เรียกว่า “ทำนบระหว่างเลือดกับสมอง” (Blood-brain barrier) ซึ่งกีดขวางบางส่วน (มิใช่ทั้งหมด) ของสารที่มีศักยภาพที่เป็นอันตรายต่อกระบวนการจ่ายเลือด (Blood supply) ไปทั่วร่างกาย มิให้เข้าถึงสมอง

พืชประเภทหนึ่งของตะบองเพชร (Cactus) มีสีเขียว-เทาขนาดครึ่งหนึ่งของลูกกอล์ฟ เรียกว่า “เพโยตี้” (Peyote) มีฤทธิ์ทำให้เกิดประสาทหลอน เพราะประกอบด้วยยาเสพติด เม็สคาลิน (Mescaline) ซึ่งเจริญงอกงามมากในประเทศเม็กซิโกและภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา

เม็สคาลิน มีสารที่เป็นสาเหตุของสิ่งเร้าทางสรีสะ (Physiological arousal) และการเห็นภาพหลอน (Visual hallucination) ส่วนส่วนประกอบหลักทางเคมี (Chemical key) ของเม็สคาลิน คล้ายคลึงกับสารสื่อประสาท (Neuro-transmitter) ที่ชื่อ “นอรีพเน็ฟริน” (Norepinephrine)

ส่วนประกอบหลักทางเคมีของเม็สคาลิน มีตัวรับความรู้สึก (Receptor) เดียวกับ “นอรีพเน็ฟริน” ดังนั้น เม็สคาลินจึงผลิตผลกระทบ โดยเลียนแบบ (Mimic) ปฏิกิริยาของ “นอรีพเน็ฟริน” ซึ่งจะทำให้เกิดภาพหลอน (Visual sensation) ภาวะเคลิ้มอกเคลิ้มใจ (Euphoria) และบางครั้งคลื่นเหียน (Nausea) และอาเจียน (Vomit)

ในปี พ.ศ. 2508 จำนวนสมาชิกของโบสถ์ชาวพื้นเมืองอเมริกัน (Native American Church) ของประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งมีประมาณ 250,000 คน ได้รับคำพิพากษาจากศาลฏีกา อนุญาตให้เป็นกลุ่มชนเดียวที่สามารถใช้ “เพโยตี้” ในพิธีทางศาสนา โดยสามารถกินได้ครั้งละ ประมาณ 4 ถึง 12 เม็ด

กล่าวโดยสรุป มีพืช 3 ชนิด (โคเคน เคียวรารี และเม็สคาลิน) ที่เป็นส่วนประกอบของยาที่แสดงผลกระทบต่อระบบประสาท (Nervous system) อันที่จริงนักวิจัยค้นพบพืชจำนวนไม่น้อย รวมทั้งดอกฝิ่น (Opium poppy) กัญชา (Marijuana) และเห็ดวิเศษ (Magic mushroom) ซึ่งประกอบด้วยยาที่มีผลกระทบต่อสารสื่อประสาท (Neuro-transmitter) เช่นกัน

นอกจากนี้ ยาเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่อสมองในเชิงลบ ทำเกิดโรคที่ร้ายแรงมาก อาทิ โรคลมชัก (Seizure) โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และการแพร่กระจายของสมองที่ถูกทำลาย (Brain damage) ซึ่งมีผลกระทบต่อทุกด้าน (Aspect) ของชีวิต การใช้ยาดังกล่าว อาจทำให้สมองเปลี่ยนแปลงจนนำไปสู่ปัญหาความทรงจำ (Memory) สมาธิ (Attention) และการตัดสินใจ [ที่ผิดพลาด]

สารสื่อประสาท คือกุญแจที่ไขให้เห็นการทำงานของสมอง ตัวอย่างเช่น โรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) แทรกแซง(Interfere) การทำงานของ เซลล์ประสาท (Neuron) และสารสื่อประสาท เช่นเดียวกับโรคที่ร้ายแรง (Terrible) อื่นที่ชื่อ พาร์กินสัน (Parkinson’s)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Medical Consequences of Drug Abuse : Neurological Effectshttps://www.drugabuse.gov/publications/medical-consequences-drug-abuse/neurological-effects [2015, May 21].