จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 51 : สารสื่อประสาท (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เนื่องจากเซลล์ประสาท (Neuron) ใช้ “สารสื่อประสาทในสมอง” (Neuro-transmitter) ในการสื่อสาร ยา (Drug) ที่ทำหน้าที่เหมือนหรือแทรกแซง (Interfere) สารสื่อประสาทในสมอง มีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงวิธีการที่สมองทำงาน (Function) และวิธีการที่เรารู้สึก นึกคิด และประพฤติตน ดังตัวอย่างการทำงานของแอลกอฮอล์ (Alcohol) ดังต่อไปนี้

เครื่องดื่ม (Beverage) แอลกอฮอลล์ ทำให้ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดของผู้ดื่มสูงขึ้น วัดได้โดย BAC (= Blood alcohol content) ตัวอย่างเช่น ณ ระดับปริมาณ (Dose) ต่ำถึงปานกลาง (0.01 – 0.06 BAC) แอลกอฮอล์เป็นสาเหตุของการสูญเสียสติสัมชัญญะ (Inhibition) ลดการควบคุมตนเองลง และทำให้การตัดสินใจเชิงสังคมเสื่อมลง (Impaired)

หลังจากการดื่มแอลกอฮอล์ 3 – 4 ครั้ง BAC ของผู้ดื่มจะสูงขึ้นถัวเฉลี่ยระหว่าง 0.08 ถึง 0.1 ซึ่งตรงตามนิยามตามกฎหมายของคำว่า “เมาแล้ว” (Drunkenness) แม้ว่า แอลกอฮอล์มีนานกว่า 3,000 ปีแล้ว แต่เพิ่งมีการวิจัยถึงผลกระทบของมันต่อสมองไม่นานมานี้ ซึ่งยากต่อการหาบทสรุป (Pin down) เพราะมีจำนวนมากมายมหาศาล

แอลกอฮอล์ชนิดเอธิล (Ethyl) เป็นยา (Drug) ที่มีผลต่อจิตประสาท (Psycho-active) ที่ได้รับการจัดเป็นประเภท กดประสาท (Depressant) หมายความว่า มันกดทับการทำงานหรือกิจกรรม (Activity) ของระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) เอาไว้ ในหลากหลายวิธีด้วยกัน

แอลกอลฮอล์ขัดขวางการทำงานของช่องรับประสาท (Neural receptor) บางตัว แต่ก็กระตุ้น (Stimulate) ช่องรับประสาทตัวอื่น เซลล์ประสาทที่ถูกกระตุ้น (Excite) โดยสารสื่อประสาทในสมอง เรียกว่า “กาบ้า” (GABA) ซึ่งตามปรกติมักจะผลิต (Manufacture) โดยสมอง

เซลล์ประสาท “กาบ้า” มีกลอนทางเคมี (Chemical lock) ที่สามารถเปิดออกได้ด้วยลูกกุญแจทางเคมี (Chemical key) ในรูปแบบของสารสื่อประสาทในสมอง ที่คล้ายคลึง (Resemble) กับโมเลกุล (Molecule) ของแอลกอฮอล์ กล่าวคือ แอลกอฮอล์ทำงานเหมือนลูกกุญแจ “กาบ้า” ที่ไขเปิดช่องรับ “กาบ้า” ซึ่งกระตุ้นเซลล์ประสาท

เมื่อเซลล์ประสาท “กาบ้า” ถูกกระตุ้น มันจะลดกิจกรรมของประสาท แล้วสร้างผลกระทบที่ขัดขวาง [การทำงานของประสาท] อาทิ ลดความกังวล (Anxiety) และความตึงเครียด (Tension) ซึ่งทำให้มันกลายเป็นสิ่งยอดนิยมในการสร้างมิตรภาพ (Friendliness) แต่ก็ทำให้ผู้คนสูญเสียสติสัมปชัญญะและการควบคุมตนเอง

หนทางหนึ่งที่แอลกอฮอล์มีผลกระทบต่อสมองก็คือ มันเลียนแบบการเกิดขึ้นตามธรรมชาติของสารสื่อประสาทในสมอง “กาบ้า” ยาตัวอื่นๆ มีผลกระทบต่อสารสื่อประสาทในสมอง เพิ่งได้รับการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้เอง ยังมีสารสื่อประสาทอื่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย

สารสื่อประสาทดังกล่าวได้แก่ อะเซ็ตทิลคอไลน์ (Acetylcholine) โนรีไพน์ฟรีน (Norepinephrine) เอไฟน์ฟรีน(Epinephrine) โดพามีน (Dopamine) และเซโรโทนิน (Serotonin) โดยที่นักวิจัยยังคงค้นพบเพิ่มเติมรายการใหม่ๆ

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Neurotransmitter - https://en.wikipedia.org/wiki/Neurotransmitter [2015, April 2].