จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 47 : เซลล์ประสาทกับเส้นประสาท (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

การปลูกถ่ายแขนขา (Limb transplant) เป็นสิ่งที่ทำได้ เนื่องจากเส้นประสาท (Nerve) สามารถสร้างใหม่ (Re-grow) แต่ก็มีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะผู้รับการปลูกกถ่ายต้องสามารถกินยาเพื่อหยุดยั้ง (Suppress) ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune) ตนเอง ซึ่งระบบนี้มีหน้าที่ในการทำลายสิ่งแปลกปลอม (Foreign) อาทิ แขนขาที่ปลูกถ่ายของผู้บริจาค ดังนั้นการหยุดยั้งดังกล่าว ทำให้ผู้รับการปลูกถ่ายต้องมีความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ (Infectious) ที่ร้ายแรง

ระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง โดยที่สมองของผู้ใหญ่มีขีดความสามารถที่จำกัดในการสร้างเซลล์ประสาท (Neuron) ใหม่ และมีความสามารถจำกัดในการทำให้เกิดจุดเชื่อม(Connection) ใหม่ เซลล์ประสาทมักตายและไม่สามารถถูกทดแทนได้เมื่อถูกทำลาย

เนื่องจากเซลล์ประสาทมีความสามารถจำกัดในการซ่อมแซม (Repair) หรือสร้างใหม่ สมองของคนที่ถูกทำลายหรือได้รับบาดเจ็บ หรือไขสันหลังที่สูญเสียประสาทสัมผัส (Sensation) และการเคลื่อนไหว (Motor movement) จึงขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการทำลายหรือความสูญเสีย

ตัวอย่างเช่น คริสโตเฟอร์ รีฟ (Christopher Reeve) [ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการแสดงภาพยนต์เรื่องซุปเปอร์แมน (Superman)] ประสบอุบัติเหตุตกจากหลังม้า จนไขสันหลังในส่วนบนของคอถูกทำลาย คริสโตเฟอร์ ต้องถูกจำกัด (Confined) ให้อยู่กับเก้าอี้รถเข็นผู้ป่วย [ตลอดชีวิตจนเขาตายไป] เพราะเซลล์ประสาทมีขีดความสามารถจำกัดในเรื่องการซ่อมแซมหรือสร้างใหม่

ปัจจุบัน หนึ่งในเนื้อหา (Area) ที่น่าตื่นเต้นมากที่สุดสำหรับการวิจัยเกี่ยวของกับวิธีการ (Technique) ที่กระตุ้นการเกิดใหม่หรือซ่อมแซมเซลล์ประสาทที่ถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น “แกนประสาทนำออก” (Axon) ซึ่งทำหน้าที่นำข้อมูลไปยัง (และกลับจาก) ไขสันหลัง มักจะเหี่ยวแห้ง (Wither) และตายไป หลังจากถูกทำลาย เหมือนกรณีของคริสโตเฟอร์

อย่างไรก็ตาม ในการทดลองกับสัตว์ “แกนประสาทนำออก” ดังกล่าว ได้รับการบรรจุในหลอดแก้ว (Tube) ที่ทำจากเส้นประสาทรอบนอกส่วนกลาง (Peripheral nerve) เพื่อนำไปสู่การเจริญเติบโต หรือการฉีดสารเคมีที่ผลิตการเจริญเติบโต (Growth-producing) และสร้างจุดเชื่อมใหม่ สิ่งที่ค้นในพบจากการวิจัยในสัตว์นี้ สร้างความหวังในการพัฒนาวิธีการในการรักษาคนที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากการที่สมองหรือไขสันหลังถูกทำลาย

อีกวิธีการหนึ่งของการรักษาสมองที่ถูกทำลายคือการทดแทนเซลล์ประสาทที่ถูกทำลายด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ประสาทของทารกในครรภ์ (Fatal) เข้าไปยังอาณาบริเวณที่ถูกทำลาย วิธีนี้มีศักยภาพค่อนข้างมากสำหรับการรักษาโรคที่เกี่ยวกับสมอง อาทิ อัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s)

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Nerve - https://en.wikipedia.org/wiki/Nerve [2016, March 5].