จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 46 : เซลล์ประสาทกับเส้นประสาท (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

จอห์น โทมัส (John Thomas) เมื่ออายุ 18 ปี เขาถูกเครื่องจักรเกษตรตัดออกซึ่งแขนทั้งสองข้างที่อยู่ใต้ไหล่ ซ้ายและขวา เนื่องจากเขาอยู่บ้านตามลำพังขณะเกิดเหตุ เขาจึงต้องตะเกียกตะกายเดินไปที่โรงนา (Farmhouse) แล้วใช้เท้าเตะประตูออก เอาปากคีบ (Clench) ดินสอ หมุนโทรศศัพท์ ร้องขอความช่วยเหลืออย่างน่าเวทนายิ่งนัก

เมื่อบุรุษพยาบาล (Paramedic) เดินทางมาถึงพร้อมกับรถพยาบาล (Ambulance) จอห์นต้องเตือนเขาให้ช่วยเก็บแขนทั้งสองข้าง (ซึ่งยังคงติดค้างอยู่ในเครื่องจักร) ขึ้นไปพร้อมกับรถพยาบาล เมื่อถึงโรงพยาบาล ศัลยแพทย์พยายามเย็บติด (Re-attach) แขนทั้งสองข้างเข้ากับลำตัว และ 3 เดือนต่อมา จอห์นก็สามารถยกแขนทั้งสองข้างขึ้น แต่ยังไม่สามารถเคลื่อนไหวในส่วนที่ต่ำกว่าข้อศอก

หลังจาก 3 ปีของการทำกายภาพบำบัด (Physical therapy) และผ่านการผ่าตัด 15 ครั้ง จอห์นก็สามารถชูแขนทั้งสองขึ้นเหนือศีรษะ กำหมัด (Fist) และจับแน่น (Grip) ด้วยมือทั้งสองข้าง ศัลยแพทย์เชื่อมั่นว่า จอห์นจะสามารถฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและความรู้สึกของแขนทั้งสองได้เต็มที่ แต่คงต้องทำกายภาพบำบัดอีกประมาณ 2 – 5 ปี

ในเวลาต่อมา แพทย์อีกท่านหนึ่งสามารถตัดมือจากร่างกายของผู้บริจาก (Donor) แล้วเย็บติดกับแขนที่ด้วน (Stump) ของอีกคนหนึ่งที่แขนขาถูกตัดออก (Severed limb) หรือถูกทำลายเสียหาย ในการผ่าตัดครั้งนี้ เส้นประสาท (Nerve) หลอดเลือด (Blood vessel) และกล้ามเนื้อจากมือของผู้บริจาค ได้รับการเย็บติดกับแขนส่วนที่เหลือของผู้ป่วย หลังการผ่าตัด 1 ปี มือของผู้ป่วยที่ได้รับการเย็บติด สามารถรู้สึกร้อนและหนาวได้ ขับรถได้ อุ้มเด็กได้ และผูกเชือกรองเท้าได้

อย่างไรก็ตาม มือใหม่ยังไม่สามารถเคลื่อนไหวอย่างประณีต (Fine movement) อาทิ หยิบเหรียญได้ ความจริงที่ว่า เส้นประสาทในแขนขาที่ถูกตัดขาด สามารถเย็บติดใหม่ได้แต่เซลล์ประสาท (Neuron) ในไขสันหลัง (Spinal cord) ที่ถูกตัดขาดนั้น ยากต่อการเย็บติดใหม่ได้

นี่แสดงถึงความแตกต่างระหว่างระบบประสาทรอบนอกส่วนกลาง (Peripheral) กับระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous system) ส่วนแขนขาที่ถูกตัดขาด สามารถเย็บติดใหม่ได้ พร้อมทั้งฟื้นฟูการเคลื่อนไหวและประสาทสัมผัส (Sensation) ได้ เพราะเส้นประสาทของเขาเป็นส่วนหนึ่ของประสาทรอบนอกส่วนกลาง ซึ่งประกอบขึ้นด้วยเส้นประสาท ที่อยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นในสมองและไขสันหลัง

เส้นประสาท เป็นกลุ่มคล้ายเส้นด้าย (String-like) ของ “แกนประสาทนำออก” (Axon) และ “ใยประสาทนำเข้า” (Dendrite) ที่มาจากไขสันหลัง และยึดเหนี่ยวเข้าด้วยกันด้วยเนื้อเยื่อที่เชื่อมโยงกัน (Connective tissue) เส้นประสาทนำข้อมูลจากประสาทสัมผัส (Sense) ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และอวัยวะร่างกาย ไปยัง (และกลับจาก) ไขสันหลัง

เส้นประสาทจากระบบประสาทรอบนอกส่วนกลาง มีความสามารถในการเย็บติดใหม่ หรือเติบโตใหม่ (Re-grow) หากถูกตัดขาด หรือถูกทำลาย ดังนั้นการปลูกถ่าย (Transplant) แขนขา จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ และความสามารถนี้เป็นสิ่งที่แยกแยะเส้นประสาทจากเซลล์ประสาท

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Nerve - https://en.wikipedia.org/wiki/Nerve [2016, February 27].