จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 45 : โครงสร้างเซลล์ประสาท (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

นอกจากโครงสร้างพื้นฐานแล้ว ยังมีอีก 3 โครงสร้างที่เป็นส่วนขยาย โครงสร้างขยายแรกเป็น “ปลอกเซลล์” (Myelin sheath) ซึ่งดูเหมือนส่วน (Segment) ของหลอด (Tube) ที่แยกตัวออก (Separate) มันประกอบด้วยไขมัน (Fatty) ที่หุ้มห่อรอบ (Wrap) และเป็นฉนวน (Insulate) ป้องกัน “แกนประสาทนำออก” (Axon) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่นำกระแสประสาทจากตัวเซลล์ประสาทเพื่อสื่อสารกับเซลล์ตัวอื่นๆ โดยเป็นเส้นใยที่ใช้ลำเลียงข้อมูลข่าวสารของระบบประสาท

เมื่อ “แกนประสาทนำออก” (Axon) หลายเส้นรวมกันเป็นมัดก็เรียกว่า เส้นประสาท เส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใย “แกนประสาทนำออก” แต่ละเส้นอาจมีขนาดเล็กระดับไมโครเมตร ซึ่งต้องใช้กล้องจุลทรรศ์ส่องดู หรืออาจมีขนาดใหญ่ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ส่วน “ปลอกเซลล์” นี้ ป้องกันการแทรกแซง (Interference) จากสัญญาณไฟฟ้า (Electric signal) ที่เกิดจาก “แกนประสาทนำออก” ที่อยู่ข้างเคียง (Adjacent) กล่าวคือ เป็นฉนวนไฟฟ้าช่วยทำให้กระแสประสาทผ่านไปได้เร็วขึ้น โดยเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเฉลี่ย 120 เมตรต่อวินาที เมื่อเยื่อ “ปลอกเซลล์” มีการชำรุดเสียหาย ก็จะทำให้การส่งต่อสัญญาณประสาทเกิดการติดขัดได้

เราอาจเคยได้ยินว่า สมองประกอบด้วยวัตถุ (Matter) สีเทาและสีขาว อันที่จริง สีเทาคือ “องคาพยพเซลล์” (Cell body) ส่วนสีขาว คือ “ปลอกเซลล์” นั่นเอง

โครงสร้างขยายที่ 2 เป็น “ปลายหลอด” (End bulb) ที่ดูเหมือนเป็นฟองอากาศเล็กๆ (Tiny bubble) โดยมีตำแหน่งอยู่ที่ปลายกิ่งก้าน (Branch) ของ “แกนประสาทนำออก” แต่ละหลอด เป็นภาชนะขนาดจิ๋ว (Miniature container) ที่เก็บกักสารเคมี "สารสื่อประสาท” (Neuro-transmitter) ที่ใช้ในการสื่อสารกับเซลล์ที่อยู่ใกล้เคียง (Neighboring) แต่ตัวมันเอง ไม่สัมผัสทางกายภาพกับพื้นผิว (Surface) ของอวัยวะใกล้เคียง (อาทิ หัวใจ) กล้ามเนื้อ (อาทิ ศีรษะ) หรือ “องคาพยพเซลล์”

โครงสร้างขยายที่ 3 เป็นช่องว่าง (Space) ที่จิ๋วมากๆ (Infinitely small) ประมาณ 20 ถึง 30 ล้านล้าน (Billion) ของ 1 เมตร ที่เกิดขึ้น (Exist) ระหว่างปลายหลอดกับอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียง (อาทิ หัวใจ) กล้ามเนื้อ (อาทิ ศีรษะ) หรือ “องคาพยพเซลล์” เมื่อได้รับการกระตุ้นจากสัญญาณไฟฟ้าจาก “แกนประสาทนำออก” ปลายหลอด ก็จะดีดออก (Eject) ซึ่ง "สารสื่อประสาท” ที่เข้าไปใน “จุดประสานประสาท” (Synapse) อันทำงานเหมือนสวิทช์ เปิด-ปิด เซลล์ที่อยู่ใกล้เคียง

ผลลัพธ์สำคัญของโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) ก็คือการสะสมค่อนข้างมาก(Excessive build-up) ของสารพิษ (Toxic substance) ที่เหมือนกาว (Glue-like) ซึ่งค่อยๆ ทำลายเซลล์ประสาท ในกรณีของไอน่า (Ina) สารพิษเหล่านี้ เป็นสาเหตุที่ทำให้สมองของเธอหดตัวลง (Shrink) ซึ่งแสดงออกด้วยรอยย่นที่อยู่ลึกมาก (Very deep crease) ในสมองผู้ป่วยเป็นโรคนี้ นักวิจัยกำลังศึกษาหาหนทางที่จะหยุดยั้งการสะสมของสารพิษและสาร “ฆาตกร” (Killer substance) ดังกล่าว

ในการทำความเข้าใจโครงสร้างและการทำงาน (Function) ของเซลล์ประสาท ต้องรู้จักแยกแยะความแตกต่างระหว่าง “เซลล์ประสาท” ที่อยู่ในสมองและไขสันหลัง (Spinal cord) กับ “ประสาท” (Nerve) ที่อยู่ในร่างกายคนเรา

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Brain - https://en.wikipedia.org/wiki/Brainy [2016, February 20].