จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 44 : โครงสร้างเซลล์ประสาท (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ปัจจุบัน นักวิจัยสามารถศึกษากิจกรรมทางจิตใจ (Mental) โดยการถ่ายรูปทางประสาทหรือการฉายภาพ (Scan) สมองของกิจกรรมทางประสาท (Neural) ที่ดำเนินอยู่ในสมอง โดยที่สีแดง/เหลือง แสดงกิจกรรมมาก ส่วนสีฟ้า/เขียว แสดงกิจกรรมน้อย

นภาพของสมองผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) จะแสดงเป็นสีฟ้า/เขียวเป็นส่วนใหญ่ กล่าวคือมีกิจกรรมทางประสาทหรือจิตใจ น้อยมาก

ก่อนที่ไอน่า (Ina) จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) เธอสามารถมีพฤติกรรมการรับรู้และกายภาพที่หลากหลาย (Variety) อย่างไม่น่าเชื่อ (Incredible) เธอสามารถคิด จดจำ เดิน ยิ้ม และพูด ทั้งหมดนี้เพราะกิจกรรมของเซลล์สมองขนาดจิ๋ว (Microscopic) นับล้านที่เรียกว่า “เซลล์ประสาท” (Neuron)

เซลล์ประสาท กระตุ้นได้ด้วยไฟฟ้า โดยผ่านกระบวนการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณไฟฟ้าและเคมี สัญญาณระหว่างเซลล์ประสาทเหล่านี้เกิดขึ้นโดยผ่าน “จุดประสานประสาท” (Synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อหน้าที่เฉพาะกับเซลล์อื่น เซลล์ประสาทสามารถเชื่อมต่อด้วยกันเพื่อสร้างเครือข่ายประสาท เซลล์ประสาทเป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบประสาท ซึ่งรวมสมองและไขสันหลัง เป็นระบบประสาทส่วนกลาง (Central nervous) และประสาทรอบนอกส่วนกลาง (Peripheral)

เซลล์ประสาทที่ว่านี้ มีรูปทรง (Shape) และขนาดที่น่าพิศวง (Wondrous) แต่มีโครงสร้างพื้นฐานเพียง 3 แบบ แบบแรกคือ “องคาพยพเซลล์” (Cell body or soma) ที่มีโครงสร้างค่อนข้างใหญ่ แต่มีศูนย์กลาง (Nucleus) เป็นทรงไข่ (Oval) เล็ก ประกอบด้วย คำสั่งพันธุกรรม (Genetic instruction) ในรูปแบบของ DNA (= Deoxyribonucleic acid) โครงสร้างนี้เป็นแหล่งเชื้อเพลิง (Fuel ) การผลิต (Manufacture) สารเคมี และการควบคุม (Regulation) เซลล์ประสาท ให้ทำงานอย่างเป็นระเบียบ (Working order)

ณ จุดกำเนิด “ใยประสาทนำเข้า” (Dendrite) ยื่นจาก “องคาพยพเซลล์” ในลักษณะคล้ายกิ่งก้านสาขา (Branch-like extension) นับเป็นโครงสร้างแบบที่ 2 ที่รับสัญญาณ (Signal) จากเซลล์ประสาท กล้ามเนื้อ (Muscle) หรืออวัยวะประสาทสัมผัส (Sense organ) แล้วส่งสัญญาณไปยัง “องคาพยพเซลล์”

หลังจากจุดกำเนิด “ใยประสาทนำเข้า” ก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว (Dramatic) ซึ่งอธิบายการเพิ่มขึ้นของขนาดสมองโดยตรง “ใยประสาทนำเข้า” นี้จะเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายสื่อสาร (Communication network) ระหว่างเซลล์ประสาท และเซลล์หรืออวัยวะอื่นๆ

โครงสร้างแบบที่ 3 เป็น “แกนประสาทนำออก” (Axon) ที่ขยายตัวออกจาก (และนำเอาสัญญาณจาก) “องคาพยพเซลล์” ไปยังเซลล์ประสาท อวัยวะ หรือกล้ามเนื้อที่อยู่ใกล้เคียง (Neighboring) โครงสร้างนี้มีความยาวต่างๆ กัน จากขนาดที่สั้นกว่าเส้นผม ไปถึงความยาว 3 ฟุต ( 91.44 เซ็นติเมตร) หรือความยาวจากไขสันหลัง (Spinal cord) ไปถึงนิ้วเท้า (Toe) โดยส่งสัญญาณ ไปยังอวัยวะ กล้ามเนื้อ หรือเซลล์ประสาทที่อยู่ใกล้เคียง (อาทิ หัวใจ)

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Brain - https://en.wikipedia.org/wiki/Brainy [2016, February 13].