จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 42 : การทำงานของสมอง (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

กลุ่มเซลล์ประสาท (Neuron) ซึ่งมีจำนวน 100 ล้านตัว เป็นเซลล์สมองที่มีการขยายตัวพิเศษ (Specialized extension) 2 ชนิด โดยที่ชนิดแรก เพื่อรับ (Receive) สัญญาณไฟฟ้า (Electrical signal) และชนิดที่สอง เพื่อส่ง (Transmit) สัญญาณไฟฟ้า ขึ้นอยู่กับขนาดของเซลล์ประสาท

ตามปรกติ เซลล์ประสาท สามารถรับและส่งสัญญาณไฟฟ้า ในความเร็วสูงถึง 200 ไมล์ (หรือ 322 กิโลเมตร) ต่อชั่วโมง โดยระยะทาง (Distance) จากเศษส่วน (Fraction) ของ 1 นิ้ว (หรือ 2.54 ซม) ไปจนถึง 3 ฟุต (หรือ 91.44 ซม) อาทิ จากนิ้วเท้า (Toe) ถึงไขสันหลัง (Spinal cord)

เซลล์ประสาทจะก่อร่างสร้างเครือข่ายข้อมูลขนาดจิ๋ว (Miniaturized) ที่กว้างใหญ่ (Vast) ซึ่งทำให้เราสามารถรับข้อมูลประสาทสัมผัส (Sensory) ควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ (Control muscle movement) กำหนดการย่อยอาหาร (Regulate digestion) คัดหลั่งฮอร์โมน (Secrete hormones) และดำเนินการกระบวนการทางจิต (Engage in mental process) ที่ซับซ้อน อาทิ การคิด จินตนาการ (Imagining) การฝัน และการจดจำ

สมองของไอนา (Ina) ได้รับการก่อร่างสร้างตัว (Building block) จากเซลล์ทั้ง 2 ประเภท กล่าวคือ เซลล์กาว (Glial) และเซลล์ประสาท แต่เซลล์ประสาทเท่านั้น ที่โรคอัลไซเมอร์ส (Alzheimer’s) เลือกทำลายทีละเล็กละน้อย ผลลัพธ์ก็คือ เธอเริ่มสูญเสียความสามารถในการส่งข้อมูล เป็นสาเหตุของปัญหาความทรงจำ (Memory) และการรับรู้ (Cognitive)

สิ่งเหล่านี้ นำมาซึ่งคำถามว่า ทำไมเซลล์ประสาท ไม่ซ่อมแซม (Repair) หรือ ทดแทน (Replace) ตัวมันเอง? หรือคำถามข้อ 3 ก็คือ แล้วสมองสามารถสร้างเซลล์ประสาทใหม่หรือไม่?

การวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ แสดงว่า สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (Primate) อาทิ มนุษย์และลิง สามารถสร้างการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทใหม่ๆ ในอาณาบริเวณบางส่วนของสมอง อันได้แก่ กลีบขมับส่วนหน้า (Frontal and temporal cortex) และกลีบขมับใกล้ส่วนกลาง (Hippocampus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้และความทรงจำ

การสร้างเซลล์ประสาทใหม่ๆ ที่ค่อนข้างจำกัดตลอดชั่วชีวิตของผู้ใหญ่ อาจมีบทบาทสำคัญในการดำรงความสามารถในการเรียนรู้ และจดจำสิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ สมองของผู้ใหญ่ที่บรรลุวุฒิภาวะ (Mature) แล้ว ยังมีขีดความสามารถที่จำกัดในการทดแทน (Replace) เชื่อมต่อ (Rewire) หรือ ซ่อมแซม (Repair) เซลล์ประสาทที่ถูกทำลาย

ตัวอย่างขีดความสามารถที่จำกัด มักเกิดขึ้นภายหลังการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stoke) แผลจากการถูกยิง (Gunshot wound) การระเบิด (Blow) ศีรษะ หรือหลังจากที่สมองได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เซลล์ประสาทที่แข็งแรง จะมีความสามารถส่งการขยายตัวช่วงสั้นๆ ออกไปเพื่อการเชื่อมโยงใหม่ๆ กับเซลล์ประสาทที่การเชื่อมโยงปรกติถูกทำลาย

เหตุผลหนึ่งของขีดความสามารถที่จำกัดในการซ่อมแซมหรือเชื่อมต่อหลังจากถูกทำลาย ก็คือการมีโปรแกรมพันธุกรรม (Genetic program) ที่ปิดกั้น (Turn off) การเติบโตใหม่ (Re-growth) เมื่อเซลล์ประสาทเติบโตเต็มที่แล้ว

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Brain - https://en.wikipedia.org/wiki/Brainy [2016, January 20].