จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 37 : สภาพไร้สมอง (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

เปลือกนอกของสมอง แบ่งแยกหน้าที่การทำงานออกเป็น 4 กลีบ (Lobe) สมองกลีบหน้า (Frontal) เกี่ยวข้องกับบุคลิกภาพ อารมณ์ความรู้สึก และพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (Motor) สมองกลีบกลางบน (Parietal) เกี่ยวข้องกับการมอง (Perception) และประสบการณ์ประสาทสัมผัส (Sensory) สมองกลีบกลางบน (Temporal) เกี่ยวข้องกับการได้ยินและการฟัง ส่วนสมองกลีบหลัง(Occipital) เกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลการมองเห็น (Processing visual information)

กรณีศึกษาของ “หนูน้อยเทรีซ่า” (Bay Theresa) เป็นสภาวะที่พบไม่บ่อย (Rae case) ซึ่งเด็กเกิดมาพร้อมกับ “สภาพไร้สมองใหญ่” (Anencephaly) เป็น 1 ในจำนวน 1,000 คน ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีในสหรัฐอเมริกา

“สภาพไร้สมองใหญ่” มักมีอันตรายถึงชีวิต (Fatal) เพราะเกิดมาพร้อมกับความพิการทางร่างกาย (Physical defect) อื่นๆ อาทิ หัวใจถูกทำลาย หนูน้อยเทรีซ่า มีอายุได้ 9 วัน เกือบจะไม่มีเยื่อสมอง และเกือบจะไม่มีหัวกระโหลก ต้องพันด้วยผ้า (Bandage) รอบศีรษะ

การปราศจากส่วนใหญ่ของสมอง ทำให้เธอไม่มีพัฒนาการของการทำงาน (Functioning) ของมนุษย์ อาทิ การมองเห็น (Perceiving) การคิด การพูด การให้เหตุผล การวางแผน หรือการตัดสินใจ แม้ไม่มีสมองส่วนหน้า (Forebrain) บางส่วนของสมองส่วนหลัง (Hindbrain) ยังคงทำงานอยู่

สมองส่วนหลังดังกล่าว อยู่สูงกว่าลำกระดูกสันหลัง (Spinal cord) ทำหน้าที่ควบคุมส่วนสะท้อนกลับที่สำคัญ (Vital reflex) อาทิ การหายใจ อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิต (Blood pressure) ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว สามารถทำให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง

ร่างกายทารกอาจมีชีวิตอยู่ (Physiologically alive) แม้ปราศจากสมองส่วนหน้า แต่ไร้ซึ่งจิตใจ (Mind) หรือความสามารถในการรับรู้ (Cognitive) ของมนุษย์ กล่าวคือ การทำงานของสมองส่วนหน้า เป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์แตกต่าง (Distinguish) จากสัตว์โลก (Creature) อื่นๆ

ในกรณีศึกษาทั้ง 4 ราย ที่ได้ผ่านการนำเสนอมาแล้ว เริ่มจากการทำงานของสมองของ ลูซี่ สก๊อต สตีฟ และเทรีซ่า นำมาซึ่งคำถามมากมาย ในกรณีของลูซี่ นำมาซึ่งคำถามของวิวัฒนาการ (Evolution) ของมนุษย์สมอง ที่ได้พัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ ตลอด 3 ล้านปีที่ผ่านมา

ในกรณีของสก๊อต นำมาซึ่งคำถามของพัฒนาการของสมอง และเกิดความผิดปรกติได้อย่างไร? ส่วนในกรณีสมองของสตีฟ นำมาซึ่งคำถามของสมองถูกทำลาย และแพทย์สามารถมองเห็นสมองข้างในที่ยังมีชีวิตอย่ำได้อย่างไร? และท้ายสุดของกรณีศึกษาของทารกเทรีซ่า นำมาซึ่งคำถามของโครงสร้างและการทำงานของสมองที่แทบจะไม่มีตัวตนอยู่ อย่าว่าแต่มีชีวิตอยู่เลย

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Nervous System - http://en.wikipedia.org/wiki/Nervous_systeml[2015, December 26].