จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 35 : สมองถูกทำลาย (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

การกวาดส่องภาพของ fMRI (= functional Magnetic Resonance Imaging) สามารถค้นหา หรือ “จับคู่” (Mapping) กิจกรรมของเซลล์สมอง (Neuron) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่รับรู้ (Cognitive function) เปรียบเทียบกับ MRI ซึ่งทำหน้าที่เพียงแสดงตำแหน่งของโครงสร้าง (Location of structure) ภายในสมอง และค้นหา “เนื้องอก” (Tumor) และตำแหน่งเฉพาะ (Site) ของสมองที่ถูกทำลาย

ช่วงที่สตีฟ ได้รับการฉายแสงผ่าน MRI ภาพฉาย (Image) ของสมองเขา ซึ่งตัดเป็นแผ่นบางๆ (Slice) จะปรากฏบนจอโทรทัศน์ ส่วนที่ขยายใหญ่ขึ้นจากภาพฉายสีเทาขนาดปรกติของแผ่นสมอง คืออาณาบริเวณที่แสดงถึงเซลล์ที่ตายแล้ว เนื่องจากเซลล์สมองส่วนที่ถูกทำลาย อยู่ในบริเวณสมองที่ประมวลข้อมูลของการมองเห็น (Visual) สตีฟ จึงประสบปัญหาในการมองเห็น อาทิ ไม่สามารถบอกเวลา จากการมองไปที่นาฬิกา แม้เขาจะเห็นเข็มนาฬิกาก็ตาม

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากส่วนน้อยของการมองเห็นได้รับผลกระทบ การทำงานอื่นๆ อาทิ การเดิน ความรู้สึก การพูด และ-เพราะอาณาบริเวณของการได้ยินของเขามิได้ถูกทำลาย

ผลประโยชน์ของฉายภาพของ MRI ทั้งสองชนิด คือการใช้ความถี่ของคลื่นวิทยุที่ปราศจากอันตราย (Non-harmful radio frequency) และการให้ภาพถ่ายที่ละเอียดลออของโครงสร้างและการทำงานภายในสมองที่ยังมีชีวิตอยู่ (Living brain)

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งวิธีการฉาย (Imaging technique) ที่สะท้อนถึงความเจริญก้าวหน้าด้านจิตวิทยาชีวภาพ (Biological) โดยเฉพาะในเรื่องของประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuro-science) โดยใช้วิธีการที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรนี้ ในการจุดประกายความคิดอ่าน เรียกว่า PET (= Position emission tomography)

PET เกี่ยวข้องกับการฉีดสารละลาย (Solution) เข้าไปในเลือด แล้ววัดปริมาณรังสีที่ดูดซึม (Radiation absorption) โดยเซลล์สมองที่ว่องไว (Active) จะดูดซึมสารละลายกัมมันตรังสีได้มากกว่าเซลล์ที่ไม่ว่องไว และคอมพิวเตอร์จะ “แปลงโฉม” (Transform) ระดับต่างๆ กันของการดูดซึมเป็นสี ที่แสดงถึงความว่องไวของเซลล์สมอง โดยที่สีแดงและสีเหลือง แสดงความว่องไวสูงสุดของเซลล์สมอง ในขณะที่สีน้ำเงินและสีเขียวแสดงถึงความว่องไวต่ำสุด

ส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลการมองเห็น (Processing visual information) อยู่ใกล้ด้านหลังของสมอง เมื่อผู้ป่วยได้รับการร้องขอให้มองที่คำพูด แต่มิให้พูดออกมา ส่วนของสมองที่เกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลการพูด (Processing speech information) อยู่ส่วนกลางด้านหน้า (Front-middle) ของสมอง เมื่อผู้ป่วยได้รับการร้องขอให้พูดคำออกมา แทนที่จะคิดถึงคำพูด

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.F

2. Nervous System - http://en.wikipedia.org/wiki/Nervous_systeml[2015, December 12].