จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 31 : เผ่าพันธุ์บรรพชน (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ในทฤษฎีวิวัฒนาการ (Evolutionary theory) มนุษย์ในปัจจุบันสืบทอดมากจากสัตวโลก (Creature) ที่แยกตัวจากลิง เมื่อหลายล้านปีก่อน ประจักษ์หลักฐานที่สนับสนุนทฤษฎีนี้ ก็คือ มนุษย์และลิงต่างมี DNA (=Deoxyribonucleic Acid ) หรือรหัสพันธุกรรม (Genetic instruction) ร่วมกันถึง 98.5%

นักมานุษยวิทยา (Anthropologist) เชื่อว่าเผ่าพันธุ์ของลูซี่ ได้ตายไปเมื่อ 1 ล้านปีที่แล้ว แต่มีเผ่าพันธุ์ที่แตกตัวออก (Branch out) มาเป็นอนุพันธ์ (Genus) เรียกว่า “โฮโม” (Homo) ซึ่งแปลว่า “มนุษย์” โดยที่กระบวนการนี้ ได้ดำเนินต่อมาจนขนาดของสมองได้เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว

เผ่าพันธุ์นี้เรียกว่า “โฮโมอิเร็คทัส” (Homo erectus) คำว่า Erectus แปลว่า “ตั้งตรง” (Upright) [กล่าวคือ เดินตัวตรง] โดยมีชีวิตอยู่ประมาณ 1.5 ล้านปีที่แล้ว สันนิษฐานกันว่า เป็นส่วนหนึ่งของอนุพันธ์ที่วิวัฒนามาเป็นมนุษย์สมัยใหม่ (Modern humans) เผ่าพันธุ์นี้ ได้พัฒนาโครงกระดูกอย่างหนา ได้รับการออกแบบสำหรับการเดินตัวตรง

“โฮโมอิเร็คทัส” (Homo erectus) มีมีความสูงเท่ากับมนุษย์สมัยใหม่ โดยเริ่มกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร (Diet) ขนาดสมอง 1,000 กรัม ซึ่งเป็น 2 เท่าของสมองลูซี่ (Lucy) จึงมีความสามารถที่เพิ่มขึ้น จนเชื่อกันว่า สามารถผลิตเครื่องมือที่ทำด้วยหินได้ และพัฒนาภาษา (Language)

จากนั้นเผ่าพันธุ์นี้ สมองก็วิวัฒนาจนใหญ่ขึ้นเป็น 3 เท่าของลูซี่ โดยมีชื่อเรียกว่า “โฮโมเซเปี้ยน” (Homo sapien) ที่ใช้ในปัจจุบัน คำว่า “Sapien” แปลว่า “ฉลาด” (Wise) เผ่าพันธุ์นี้ เริ่มต้นเมื่อประมาณ 400,000 ปีที่แล้ว และดำเนินมาถึงปัจจุบัน โดยมีสมองที่หนัก 3 ปอนด์ (ประมาณ 1,350 กรัม)

ลักษณะพิเศษ (Characteristics) นี้ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง (Dramatic) 4 ประการ ดังต่อไปนี้

  1. เริ่มต้นด้วยการเพาะปลูก แทนการล่าสัตว์
  2. อยู่ในชุมชนที่เป็นสังคม แทนการเร่ร่อน (Roaming) ไปทั่วประเทศ
  3. พัฒนาภาษา ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสาร (Communications) ที่ดีกว่าภาษาใบ้ [ที่ใช้มือโบกและอากัปกิริยา (Gesture) เป็นต้น]
  4. วาดภาพและระบายสีที่สวยงามเป็นตัวแทน (Representation) มนุษย์และสัตว์

เชื่อกันว่ามี 2 พลังที่มีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของสมองมนุษย์ และการขยายขนาดเป็น 3 เท่า อันได้แก่

1. การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม หรือกลายพันธุ์ (Mutation) ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม (Genetic instruction) โดยบังเอิญ (Accidental) และ

2. การคัดเลือกตามธรรมชาติ (Natural selection) ซึ่งหมายถึงผู้ที่มีความเหมาะสมที่สุด (Best fit) ต่อสภาพแวดล้อมเท่านั้น จึงจะอยู่รอดได้

แหล่งข้อมูล

1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2. Nervous System - http://en.wikipedia.org/wiki/Nervous_systeml[2015, November 14].