จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 29 : ยาหลอก (4)

จิตวิทยาผู้ใหญ่

ถ้าผู้รับการวิจัยที่กินยาจริง แล้วรายงานว่าปวดศีรษะลดน้อยลง เมื่อเทียบกับผู้ที่กินหลอก (Placebo) นักวิจัยสรุปว่ายามีประสิทธิลทางการแพทย์จริง เพราะดีกว่ายาหลอก ใน 30 ปีที่ผ่าน การทดลองวิธีการ “บอด 2 ชั้น” (Double blind study) มีมากนับร้อยราย พบว่า 30 ถึง 98% ของผู้รายงานว่า ได้รับผลกระทบที่เป็นประโยชน์ หลังจากกินยาหลอก

ต่อไปนี้ เป็นตัวอย่าง ของการค้นพบหลังวิธีการ “บอด 2 ชั้น” ซึ่งแสดงว่า ความคาดหวังและเชื่อมั่นที่สามารถเปลี่ยนแปลงยาหลอก ให้กลายเป็นยาจริงที่ทรงพลัง ได้

  • 98% ของผู้ป่วยที่เดิมรายงานว่า ความปวดได้บรรเทาอย่างมาก (Marked) หรือได้หายไปอย่างสิ้นเชิง (Complete) จากแผลพุพอง (Ulcer) หลังการรักษาพยาบาล ด้วยเครื่องที่ทำให้กระเพาะอาหารเย็นจัด จนส่งผลให้ลดการสร้างกรด (Gastric freezing) แต่หลังวิธีการ “บอด 2 ชั้น” พบว่า การรักษาพยาบาลนี้ ไม่ได้ผล
  • 85% ของผู้ป่วยที่เดิมรายงานว่า ความปวดได้บรรเทา จากงูสวัสดิ์ (Herpes simplex) หลังการใช้ยารักษาพยาบาล อย่างไรก็ตาม หลังวิธีการ “บอด 2 ชั้น” พบว่า ยาที่ใช้รักษาพยาบาลนี้ ไม่ได้ผล
  • 56% ของผู้ป่วยที่รายงานว่า อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด (Angina pectoris) ลดลง หลังจากได้รับหัตถการทางการแพทย์ (Medical procedure) ที่ผู้ป่วยไม่รู้ว่าแพทย์รักษาอย่างไร รู้เพียงว่า มีรอยแผลที่ผิวหนัง
  • 35% (ในช่วง 15% ถึง 18%) ของผู้ป่วยที่รายงานว่า ยาหลอกได้บรรเทาความปวดลง หลังจากรับการผ่าตัดใหญ่ (Serious) ในโรงพยาบาล

จากการค้นพบดังกล่าว นักวิจัยสรุปความคิดความเห็น 3 ข้อ

  1. ผลกระทบอันทรงพลัง (Powerful) ของยาหลอก อาทิ การบรรเทาความปวด การลดไข้ หรือการฟื้นไข้อย่างรวดเร็ว จากหัตถการทางการแพทย์ ได้ผลมากกว่าที่ประมาณการ (Estimate) กันไว้
  2. ทั้งการให้ยา (เม็ดแลฉีด) และการผ่าตัดหลอก (Fake surgery) สามารถสร้างผลกระทบของยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ อาทิ การบรรเทาความปวด ใน 15% ถึง 98% ของผู้ป่วย
  3. ยาหลอก แสดงปฏิสัมพันธ์อันทรงพลัง (Interaction) ของจิตใจเหนือร่างกาย ซึ่งอธิบายว่า ทำไมผู้คนจึงประสบผลสัมฤทธิ์ และรายงานผลกระทบในเชิงบวกต่อร่างกายจากการกินยาหลอกที่หลากหลาย ซึ่งวางจำหน่ายในท้องตลาด อาทิ การรักษาพยาบาลด้วยสมุนไพรที่ยังพิสูจน์ไม่ได้

นักวิจัย เสนอแนะว่า ยาหลอก อาจได้ผลในการสร้างความคาดหวังและความเชื่อมั่นในเชิงบวก ซึ่งช่วยลดความกังวล (Anxiety) และความเครียด (Stress)

ในทำนองเดียวกัน การลดความกังวลลงส่งผลให้รู้สึก (Perceived) บรรเทาความเจ็บปวด และการลดความเครียดลง ส่งผลให้เพิ่มพูนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน (Immune) เพื่อว่าร่างกายจะสามารถต่อสูกับสารพิษ (Toxin) และฟื้นฟูได้รวดเร็วขึ้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า จิตใจของเรามีผลกระทบอันทรงพลังต่อร่างกาย

แหล่งข้อมูล

1.Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.

2.Placebo - http://kff.org/medicare/report/the-rising-cost-of-living-longer-analysis-of-medicare-spending-by-age-for-beneficiaries-in-traditional-medicare/ [2015, October 31].