จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 212: การเสพติดยา (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-212

      

      ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (Psycho-active) มีผลกระทบต่อระบบประสาท (Nervous system) ของเรา แต่ว่ายาดังกล่าวจะกระทบต่อพฤติกรรมอย่างไร ขึ้นอยู่กับสภาวะ (State) ทางจิต และปัจจัยสังคมอื่นๆ อาทิ แรงกดกันจากคนรุ่นราวคราวเดียวกัน (Peer pressure) และค่านิยมของสังคม (Society’s value)

      เพื่อแสดงเป็นตัวอย่าง (Illustrate) ว่า การใช้ยาเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางเภสัชวิทยา (Pharmacological) และจิตวิทยา (Psychological) อย่างไร เราจะอิงบุคคลหนึ่งที่มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ประสบปัญหาร้ายแรงกับการใช้ยา เขาผู้นั้นคือ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) บิดาแห่งจิตวิเคราะห์ (Psycho-analysis)

      เมื่อฟรอยด์อายุได้ 38 ปี แพทย์ของเขาให้เขาหยุดสูบซิการ์ (Cigar) เนื่องจากมันเป็นสาเหตุให้หัวใจเขาเต้นผิดปรกติ (Irregular heart beat) แม้ว่าเขาพยายามที่จะลดการสูบซิการ์ลง แต่ในไม่ช้า เขาก็กลับไปสูบซิการ์วันละ 20 มวนอีก เมื่อปัญหาหัวใจของเขาเลวร้ายลง เขาก็หยุดสูบซิการ์

      อย่างไรก็ตาม เมื่อเขารู้สึกซึมเศร้าอย่างรุนแรง (Terrible depression) และอารมณ์ของเขาก็หวั่นไหว (Swing) เขาก็กลับไปสูบซิการ์ใหม่ เพื่อให้หลุดพ้น (Escape) จากความทรมาน (Torture) ทางจิต เมื่อเขาอายุ 67 ปี แพทย์ได้ค้นพบ (Discover) และวินิจฉัย (Diagnose) ถึงความเจ็บปวด (Sore) เล็กๆ น้อยๆ ในช่องปากของเขาว่า เป็นมะเร็ง (Cancer)

      ใน 16 ปีถัดมา เขาได้รับการผ่าตัด (Operation) ในช่องปากและขากรรไร (Jaw) รวม 33 ครั้ง เพื่อรักษาโรคมะเร็งดังกล่าว แต่ก็ยังคงสูบซิการ์ต่อไป เมื่อเขาอายุได้ 79 ปี ส่วนใหญ่ของขากรรไกรของเขาได้ถูกตัดออก (Removed) ไปแล้ว และทดแทน (Replaced) ด้วยชิ้นส่วนเทียม (Artificial) เขาอยู่ในความเจ็บปวดอย่างต่อเนื่อง และแทบจะไม่ (Rarely) สามารถกลืน (Swallow) หรือพูด (Talk) เลย

      เขายังคงสูบซิการ์อย่างต่อเนื่องไม่มีวันสิ้นสุด ในปี ค.ศ. 1939 ณ อายุ 83 ปี เขาถึงแก่กรรมด้วยมะเร็งที่มีสาเหตุมาจากการสูบซิการ์ นับเป็นเวลาถึง 45 ปี ที่ฟรอยด์มีปัญหาการเสพติดยาเกือบตลอดช่วงชีวิตวิชาชีพ (Professional life) ของเขา โดยที่เขาเสพติดยาสูบ (Tobacco) ซึ่งมีสารนิโคตีน (Nicotine)

      ในฐานะนักจิตวิเคราะห์ แม้ฟรอยด์จะมีความเข้าใจ (Insights) ในปัญหาของผู้อื่น และพยายามรักษาการเสพยาของตัวเขาเอง แต่ก็ไม่สำเร็จ การดิ้นรน (Struggle) ต่อสู้กับปัญหาการสูบยาของเขา แสดงถึงอาการ (Symptom) 4 อย่างที่สัมพันธ์กับการใช้ยาและการเสพติดยา (Abuse) อันได้แก่ การเสพติด (Addiction), การอดทนยอมรับ (Tolerance), การพึ่งพา (Dependence), และการถอดถอน (Withdrawal)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Psychoactive drug - https://en.wikipedia.org/wiki/Psychoactive_drug [2019, May 04].