จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 208: พฤติกรรมภายใต้การสะกดจิต (2)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-208

      

      เป็นไปได้ไหมที่สตรีวัย 30 ปีถูกสะกดจิตให้กลับไปเป็นเด็กหญิงอายุ 3 ขวบ? ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “การถดถอยของอายุ” (Age regression) ซึ่งหมายถึง ผู้เข้ารับการทดลอง (Subject) ภายใต้การสะกดจิต ถูกขอให้ถดถอย หรือยัอนเวลาไปสู่อดีต (อาทิ ในวัยเด็ก) นักวิจัยพบว่า ในช่วงอายุถดถอย ผู้ถูกสะกดจิตมิได้มีชีวิตอยู่อีกครั้ง (Re-live) ตามประสบการณ์ในอดีตตามที่บางคนเข้าใจ แต่สวมบทบาทของเด็กเท่านั้นเอง

      หลังจากการทบทวนอย่างทรหด (Exhaustive review) ย้อนหลังกว่า 100 ปี ในเรื่องการถดถอยของอายุจากการสะกดจิต นักวิจัยสรุปว่า ไม่มีประจักษ์หลักฐานใดๆ ว่า ผู้ใหญ่สามารถย้อนเวลากลับไปยังอดีต ดังนั้น นักวิจัยจึงเชื่อว่า ในช่วงระยะเวลาของอายุถดถอย ผู้ถูกสะกดจิตมิได้มีชีวิตอีกครั้งตามประสบการณ์ในวัยเด็กแต่อย่างใด เพียงแต่แสดงออก (Act) เหมือนพฤติกรรมของเด็กตามที่คาดหวังเท่านั้นเอง

      เมื่อผู้เข้ารับการทดลองถูกสะกดจิตให้สนองตอบต่อคำสั่ง อาทิ “จงพยายามตบตี (Swat) เจ้าแมลงวันตัวนั้น” เราเรียกว่า “การหยั่งรู้แบบจินตนาการ” (Imagined perception) ซึ่งหมายถึง การผ่านประสบการณ์อารมณ์ความรู้สึก (Sensation) การหยั่งรู้สิ่งกระตุ้น (Stimulus) หรือแสดงพฤติกรรมจากจินตนาการ

      นักสะกดจิตบำบัด (Hypno-therapist) ใช้หลากหลายรูปแบบของการหยั่งรู้แบบจินตนาการ ในการรักษาผู้ป่วย ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยรายหนึ่ง จินตนาการว่า เขาเป็นอัศวินเสื้อเกราะ (Armored knight) บนหลังม้าที่ยิ่งใหญ่ (Great horse) หลังจากการบำบัดรักษาหลายครั้ง (Session) นักสะกดจิตบำบัดได้ขอให้ผู้ป่วยถอดเสื้อเกราะออก แล้วพบตัวตนที่แท้จริงของเขา ซึ่งกลายเป็นว่า เขาเกรงกลัวต่อความบกพร่อง (Flaw) ของเขานั่นเอง

      บทสรุปก็คือ นักวิจัยเห็นสอดคล้องกันว่า ผู้รับการทดลองที่ถูกสะกดจิตส่วนมาก เพียงแต่แสแสร้ง (Fake) สนองตอบต่อคำสั่งของผู้สะกดจิต ตัวอย่างเช่น ในการสนองตอบต่อคำสั่งของนักสะกดจิต ผู้คนรายงานว่า จริงๆ แล้วอยู่ในสภาวะพิเศษของการมีสติ (Consciousness) ประสบการลดลงในความเจ็บปวดที่หยั่งรู้ (Perceived pain) สูญเสียความทรงจำบางส่วน และแสดงออกหรือยับยั้ง (Inhibit) การเคลื่อนไหวที่หลากหลาย (Variety of movement)

      สิ่งที่นักวิจัยเห็นไม่สอดคล้องกันก็คือ พฤติกรรมที่แสดงออกและประสบพบเห็นภายใต้การสะกดจิต เกิดขึ้นเพราะผู้เข้ารับการทดลองอยู่ในภาวะดัดแปลง (Altered state) หรือเกิดขึ้นเพื่อสนองตอบต่อการร้องขอของบุคคลที่สมควร (Legitimate) เชื่อถือได้ (Trusted) และมีอำนาจ (Authority) เหนือหัว [กล่าวคือ ผู้สะกดจิต] เหมือนที่เราประสบในชีวิตประจำวันของเรา

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Hypnosis - https://en.wikipedia.org/wiki/Hypnosis [2019, April 6].