จิตวิทยาในชีวิตประจำวัน – ภาคที่ 3 จิตวิทยาผู้ใหญ่ตอนที่ 20 : เหตุผลของการแต่งงาน

จิตวิทยาผู้ใหญ่

วัฒนธรรมในประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญต่อค่านิยมที่แตกต่างกันของการแต่งงานเพราะความรัก ในสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นๆ ในโลกตะวันตก ให้ “ค่านิยม” (Value) สูงต่อการแต่งงานเพราะ “ค่านิยมของความรัก” (Love value) แต่ประเทศในเอเชีย ตะวันออกกลาง และอัฟริกา ให้ “ค่านิยม” ต่ำต่อการแต่งงานเพราะความรัก

ในการเลือกคู่ชีวิตในอนาคต ในประเทศอิหร่าน ผู้คนให้ลำดับความสำคัญดังนี้ (1) การศึกษา (2) ความทะเยอทะยาน และ (3) ค่านิยมของความรัก ส่วนในประเทศไนจีเรีย ผู้คนให้ลำดับความสำคัญดังนี้ (1) สุขภาพแข็งแรง (2) ความละเอียดลออ (Refinement/neatness) (3) ความต้องการบ้านและลูก และ (4) ค่านิยมของความรัก

ในประเทศจีน ผู้คนให้ลำดับความสำคัญดังนี้ (1) สุขภาพแข็งแรง (2) พหรมจรรย์ (Chastity) (3) และแม่บ้าน (Home-maker) โดยที่ค่านิยมของความรักอยู่ที่อันดับ 6 ส่วนในประเทศอัฟริกา-เผ่าซูลู (Zulu) ผู้คนให้ลำดับความสำคัญดังนี้ (1) เสถียรภาพของอารมณ์ (Emotional stability) (2) วุฒิภาวะ (Mature) และ (3) พึ่งพาได้ (Dependable) โดยที่ค่านิยมของความรักอยู่ที่อันดับ 7

นักมานุษยวิทยา (Anthropologist) บางคนถกเถียงว่า ผู้หญิงซึ่งใช้เวลามากในการเลี้ยงดูลูก (Offspring) มักเลือกปฏิบัติ (Discriminate) ในเรื่องมาตรฐานของคู่ชีวิตในอนาคต มากกว่าผู้ชายซึ่งใช้เวลาน้อยกว่าในการเลี้ยงดูลูก ดังนั้น ผู้หญิงจึงระมัดระวังมากกว่าผู้ชายในการตัดสินใจว่า จะแต่งงานกับใคร?

ในเกือบทุกๆ วัฒนธรรม ผู้หญิงแสดงออกซึ่งมาตรฐานที่เข้มงวด (Stringent) กว่า ของหลากหลายลักษณะพิเศษ (Characteristics) ในขณะที่ผู้ชายมักตัดสินใจที่จะแต่งงานกับผู้หญิงที่มีอายุน้อยกว่า ที่มีเสนห์ดึงดูดทางกาย [ความต้องการเพศสัมพันธ์]

ในสังคมที่ผู้ชายซื้อภรรยาได้ สาวที่อ่อนเยาว์กว่า จะสามารถเรียก “ราคาเจ้าสาว” (Bride price) ได้สูงกว่า และในต่างวัฒนธรรม (Across culture) เหตุผลที่ผู้ชายใช้กันบ่อยในการขอหย่าร้าง (Dissolve) กับภรรยา ก็คือการไม่มีลูก (Infertility) หรือความไม่สามารถตั้งครรภ์ได้

จากการสำรวจอุปนิสัยที่ปราถนาจากคู่ชีวิตในอนาคต นักวิจัยพบว่า คู่สมรสจำนวนมาก มีความคล้ายคลึงกันในต่างวัฒนธรรม แต่ก็พบความแตกต่างอย่างมากในนานาวัฒนธรรม สำหรับเหตุผลของการแต่งงาน ได้แก่ เหตุผลทางกฎหมาย สังคม การเงิน ความต้องการทางร่างกาย (Libidinal) อารมณ์ความรู้สึก จิตวิญญาณ (Spiritual) และศาสนา

ผู้ที่จะแต่งงานด้วย ก็อาจได้รับอิทธิพลจากกฎเกณฑ์ทางสังคม อาทิ การ “คลุมถุงชน” (Arranged marriage) การมีสามีหรือภรรยาหลายคน (Polygamy) และบางครั้งการบังคับแต่งงาน (Forced marriage) ส่วนการแต่งงานบางประเภทก็ถือว่าผิดกฎหมายหรือต้องได้รับโทษ อาทิ การแต่งงานกับญาติใกล้ชิด (Incest) และการแต่งงานกับเด็ก แต่ในบางส่วนของโลกที่เจริญแล้ว (Developed) ก็เป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน และความเท่าเทียมกัน (Equality) อาทิ การแต่งงานของเพศเดียวกัน (Same-gender)

แหล่งข้อมูล

  1. Plotnik, Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Marriage - http://en.wikipedia.org/wiki/Marriage [2015, August 29].