จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 198: ความผิดปรกติของการนอนหลับ (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-198

      

      โอกาสของการพัฒนาภาวะหยุดหายใจชั่วขณะระหว่างนอนหลับ (Sleep apnea) จะเพิ่มขึ้น ถ้าผู้ป่วยนอนกรน (Snore) บ่อยๆและแรงกล้า (Intense), มีน้ำหนักเกิน (Overweight), ดื่มแอลกอฮอล์, หรือ กินยากล่มประสาท (Sedative) ผู้ป่วยดังกล่าว อาจตื่นขึ้น 400 ครั้งต่อคืน อย่างน่าอัศจรรย์ (Astonishing) อันส่งผลให้เกิดโรคนอนไม่หลับ

      การรักษาผู้ป่วยหยุดหายใจชั่วขณะระหว่างนอนหลับอยู่นั้น ขึ้นอยู่กับความร้ายแรง (Severity) ของอาการ การรักษาที่ง่ายที่สุดคือการถักเย็บ (Sew) [เป็นปมคล้าย] ลูกเทนนิส ให้อยู่ด้านหลังของชิ้นบนของชุดนอน (Pajama) เพื่อมิให้ผู้ป่วยนอนทับหลัง [ระนาบไปกับพื้น] ซึ่งเพิ่มโอกาสของการหยุดหายใจชั่วขณะระหว่างนอนหลับ

      การบำบัดยอดนิยมที่สุดที่คือเครื่องมือ (Device) ที่เป่าอากาศเข้าผ่านหน้ากากปิดสนิท (Sealed mask) ซึ่งผู้ป่วยสวมอยู่เหนือจมูก ในกรณีร้ายแรง ผู้ป่วยหยุดหายใจชั่วขณะระหว่างนอนหลับ อาจสวมเครื่องมือปิดปากเป็นเหมือนฉากกั้น (Retainer) หรือเข้ารับ (Undergo) การผ่าตัด เพื่อขจัดต่อมทอนซิล (Tonsil) หรือเปลี่ยนแปลง (Alter) ตำแหน่งของขากรรไกร (Jaw)

      โรคที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมการนอนหลับได้ เรียกว่า “นาร์โคเลปติกส์” (Narcoleptics) เป็นความผิดปรกติเรื้อรัง (Chronic disorder) ที่เกิดจากอาการง่วงนอนจนเกินไป (Excessive) มักจะอยู่ในรูปแบบที่การนอนหลับถูกจู่โจม หรือการนอนหลับช่วงสั้น (Brief) ตอนกลางวัน

      การนอนที่ถูกจู่โจมนี้มักตามด้วย (Accompanied) ช่วงสั้นของการนอนแบบ REM (= Rapid eye movement หรือการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของลูกตา) และกล้ามเนื้อเป็นอัมพาต (Muscle paralysis) หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Cataplexy) ซึ่งอาจเกิดจากการตะแคง (Tilting) ศีรษะ, การโค้งงอ (Buckle) ของเข่า, หรือการหกล้มยังพื้น

      ผู้ป่วยรายงานการนอนหลับที่ถูกจู่โจม ว่าเป็นสิ่งที่ฝืนไม่ได้ (Irresistible) กล่าวคือเขาจะหลับไปทันทีในสถานที่อันไม่สมควร (Inappropriate) อาทิ หลับไประหว่างสนทนาหรือขับรถ ในหลายกรณีการถูกจู่โจมดังกล่าว ทำให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่ด้วยความลำบาก ผู้ป่วยคนหนึ่งรายงานว่า

      “ฉันมีชีวิตอยู่กับโรคนาร์โคเลปติกส์นี้มานาน 45 ปี ฉันเป็นต้นเหตุโดยตรง (Directly responsible) ของอุบัติเหตุรถยนต์หลายครั้งที่ร้ายแรงปางตาย (Near-fatal) ความสุขที่ทุกคนได้รับจากการนอนหลับ คือสิ่งที่ฉันถูกปฏิเสธไปตลอดชีวิตที่เหลืออยู่”

      เมื่อมานานมานี้ นักวิจัยเริ่มค้นพบว่า โรคนาร์โคเลปติกส์ นี้เกิดขึ้นเมื่อเซลล์สมองที่ชื่อ ไฮโปเครติน (Hypocretin) ไม่ได้พัฒนาตามปรกติเหมือนเซลล์ประสาท (Neuron) อื่นๆ

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Sleep disorder - https://en.wikipedia.org/wiki/Sleep_disorder [2018, January 26].