จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 192: โลกของการฝัน (3)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-192

      

      นักจิตบำบัดและนักวิจัยชื่อ โรสลินด์ คาร์ทไร้ท์ (Rosalind Cartwright) ผู้อำนวยการงานให้บริการผู้มีปัญหาการนอนหลับ (Sleep disorder) กล่าวว่า “ปัญหาที่นักจิตบำบัดส่วนมากประสบก็คือการไม่ปะติดปะต่อ (Sparse) และความไม่สมบูรณ์ (Incomplete) ของเนื้อหา (Material) “

      เนื่องจากผู้คนจดจำการฝันของตนเองไม่ได้ดี งานของนักจิตบำบัดจึงเหมือนความพยายามที่จะสร้างใหม่ (Reconstruct) ซึ่ง นวนิยาย (Novel) 500 หน้าจากเพียงหน้าสุดท้าย แต่การฝันที่รวบรวมได้ (Collected) จากคืนเดียวในห้องปฏิบัติการนอนหลับ (Sleep laboratory) สามารถอ่านได้เป็นหลายบท (Chapters) ในหนังสือเล่มหนึ่ง เสมือนจุดแสงให้เห็น (Illuminate) ความกังวลในปัจจุบัน พร้อมทั้งความรู้สึกที่ยึดติดอยู่ (Attached) กับมัน

      ตัวอย่างเช่น คาร์ทไร้ท์พบว่า ผู้คนต้องทนทุกข์ทรมานในสถานการณ์ที่อารมณ์หวั่นไหวไปตามการบาดเจ็บที่สาหัส (Severe trauma) จะพบฝันร้ายสุดๆ (Stark nightmare) ที่จำลอง (Re-create) สถานการณ์ดังกล่าว ผู้ที่ซึมเศร้า (Depressed) มักตื่นกลางคืนในแต่ละวัน ด้วยความรู้สึกที่โหดร้ายกว่าก่อนเข้านอน กล่าวคือมีการฝันที่รบกวนจิตใจอย่างร้ายแรง

      คาร์ทไร้ท์เชื่อว่า ผู้ป่วยด้วยโรคซึมเศร้าหรือปัญหาการแต่งงาน (Marital) มักเผชิญกับปัญหาดังกล่าว ด้วยการตอกย้ำความกลัวและความกังวลครั้งแล้วครั้งเล่าในการฝัน ด้วยเหตุผลนี้ นักจิตบำบัดจึงพบว่า การแปลผลการฝัน เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ (Useful tool) มากในการช่วยผู้ป่วยให้เข้าถึง (Reach) ความเข้าใจในตัวเองได้ดีขึ้น

      คาร์ไร้ท์สรุปว่า การฝันเป็นสิ่งสำคัญเพราะแทน (Represent) อีกแหล่งข้อมูลหนึ่ง, มีการเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ (Regular occurrence), และไม่อาจถูกขจัด (Suppressed) ได้อย่างง่ายดาย แต่เธอก็พูดเสริมว่า ยังไม่มีคำตอบที่แน่ชัดสำหรับคำถามเกี่ยวกับความหมายของการฝัน และนักจิตบำบัดยังไม่สามารถเข้าใจทุกสถานการณ์ของการฝันที่ผู้ป่วยรายงาน

      ทฤษฎีที่ 3 มองการฝันว่าเป็นกิจกรรมสะท้อนกลับของเซลล์ประสาท (Reflective neural activity) ความคิดที่ว่า การฝันเป็นผลโดยตรง (Purely) มาจากการยิงสุ่ม (Random firing) ของเซลล์ประสาท (Neurons) ในสมองของเรา เรียกว่า “ทฤษฎีสังเคราะห์การกระตุ้น” (Activation-Synthesis Theory)

      ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การฝันแทนกิจกรรมสุ่มและไร้ความหมาย (Meaningless) ของเซลล์ประสาทในสมอง ตามทฤษฎีนี้ อาณาบริเวณในสมองส่วนที่เรียกว่า “ก้านสมอง” (Pons) จะส่งชีพจรเส้นประสาท (Nerve pulse) แบบสุ่มนับล้านๆ ครั้ง ไปยัง “เปลือกสมอง” (Cortex) ก่อน

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. Entering the World of Dreamshttps://www.psychologytoday.com/us/blog/the-wisdom-your-dreams/200911/entering-the-world-dreams [2018, December 8].