จิตวิทยาผู้ใหญ่ ตอนที่ 188: ความแตกต่างทางวัฒนธรรม (1)

จิตวิทยาผู้ใหญ่-188

      

      สำหรับสัตว์จำนวนมาก (รวมทั้งมนุษย์ด้วย) แสงแดด (Sunlight) มีอิทธิพลโดยตรงต่อการกำหนดเวลานาฬิกาชีวภาพ (Circadian clock) และมีผลกระทบต่อจังหวะรอบวัน (Circadian rhythm) อย่างไรก็ตาม นักวิจัยเพิ่งค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ในเรื่องการเชื่อมโยงของเส้นประสาท (Nerve connection) จากตัวรับ (Receptor) ในจอประสาทตา (Retina) ซึ่งอยู่ด้านหลังของดวงตา กับศูนย์กลาง (Nucleus) ในสมอง หรือซูปราไคแอสเมติก (Suprachiasmatic) ในไฮโปธารามัส (Hypothalamus)

      สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับเส้นทาง (Pathway) ของเส้นประสาทเฉพาะนี้ก็คือ มันไม่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น (Vision) สิ่งของ แต่เกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัส (Sense) ในเรื่องการคงอยู่ (Presence) และปริมาณของแสง ไม่ว่าจะเป็นแสงแดดจริง หรือแสงแดดเทียม (Artificial light)

      นี่หมายความว่า มนุษย์มีเส้นทางประสาทที่สนองตอบต่อการคงอยู่ของแสง และอาจเกี่ยวข้องกับจุดกำเนิด (Onset) ของปัญหาสุขภาพจิต (Mental health) เรียกว่า “โรคอารมณ์แปรปรวน” (Sensational affective disorder : SAD) ซึ่งเป็นรูปแบบ (Pattern) ของกลุ่มอาการซึมเศร้า (Depressive symptoms) อาทิ การสูญเสียความสนใจหรือความรื่นรมย์ (Pleasure) ในกิจกรรมเกือบทุกอย่าง

      ความรู้สึกดังกล่าวเป็นวัฏจักร (Cycle) ไปตามฤดูกาล มักจะเริ่มต้นในฤดูใบไม้ร่วง หรือฤดูหนาว แล้วจางหายไปในฤดูใบไม้ผลิ เมื่อกลางวันยาวนานขึ้นพร้อมกับมีแสงแดดมากขึ้น สิ่งที่มาพร้อมกับความซึมเศร้าคือความเฉื่อยชา (Lethargy) การง่วงเหงาหาวนอน (Excessive sleepiness) การกินอาหารมากเกินไป (Over-eating) น้ำหนักเพิ่มขึ้น (Weight gain) และการโหยหา (Crave) อาหารจำพวกแป้ง (Carbohydrate)

      การรักษายอดนิยมสำหรับ SAD ที่ไม่ใช้ยา โดยการให้ผู้ป่วยได้รับ (Expose) แสงแดดในตอนเช้าเป็นเวลา 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง นักวิจัยรายงานว่า 69% ของผู้เข้ารับการทดลอง (Subject) ซึ่งได้รับการวินิจฉัย (Diagnosed) ว่าเป็น SAD ได้รายงานว่า มีอาการซึมเศร้าน้อยลง หลังจากได้รับแสงแดดทุกๆ วัน ในขณะเดียวกัน 31% ของผู้เข้ารับการทดลองดังกล่าว ประสบความซึมเศร้าน้อยหรือไม่มีเลย

      แต่โดยทั่วไป การได้รับแสงแดดเทียมช่วยให้ 50 ถึง 70% ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น SAD บรรเทาโรคซึมเศร้าได้ เนื่องจากแสงแดดที่ลดลงดูเหมือนจะไปกระตุ้น (Trigger) SAD เราอาจคาดคิดว่า น่าจะมีผู้ป่วย SAD น้อยในทางใต้ของรัฐฟลอริดา (Florida) ซึ่งได้รับแสงแดดมากกว่าทางเหนือของรัฐนิวแฮมป์เชียร์ (New Hampshire) ซึ่งมีอากาศหนาวมืดครึ้ม (Gloomy)

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Plotnik Rod. (2002). Introduction to Psychology (6th Ed). Pacific Grove, CA: Wadsworth -Thompson Learning.
  2. World sleep societyhttp://worldsleepsociety.org/about/bylaws/ [2018, November 17].